"คลัง" เปิดตัวมาตรการ "กระบะพี่ มีคลังค้ำ" ฟรี! ค่าธรรมเนียม
"คลัง" เปิดตัวมาตรการ "กระบะพี่ มีคลังค้ำ" ฟรี! ค่าธรรมเนียม
"คลัง" เปิดตัวมาตรการ "กระบะพี่ มีคลังค้ำ" ฟรี! ค่าธรรมเนียม
ค้ำประกัน3ปีแรก ประเดิม!5,000ลบ. SMEsเข้าถึงสินเชื่อรถกระบะใหม่
“คลัง” เปิดตัวมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” ปลดล็อก SMEs เข้าถึงสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่ ปลุกอุตสาหกรรมยานยนต์ ช่วยพลิกฟื้นบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 2,500 บริษัท และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 21,000 ล้านบาท
จากวงเงินค้ำประกันระยะแรก 5,000 ล้านบาท พร้อมสิทธิประโยชน์ ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปีแรก ค้ำประกันนาน 7 ปี หรือ 84 งวด เปิดรับคำขอตั้งแต่ 1 เม.ย. 68 นี้
ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดตัวมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ “บสย. SMEs PICK-UP”
พร้อมบรรยายหัวข้อ “กลไกการค้ำประกัน กระบะพี่ มีคลังค้ำ..SMEs ไทยไปต่อ” โดยมี นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ณ ห้องประชุม 402 อาคาร 150 ปี
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า มาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” เป็นมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่ “SMEs PICK-UP” ของ บสย.
ที่ปลดล็อกข้อจำกัดทางการเงินให้กับ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย ที่มีความจำเป็นต้องซื้อรถกระบะใหม่ โดย บสย. จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชดเชยความเสี่ยง ด้วยการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้สถาบันการเงิน (ไฟแนนซ์) ในการปล่อยสินเชื่อ
ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ (Approval Rate) ให้กับ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีความจำเป็นต้องใช้รถกระบะเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น เกษตรกร ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ขนส่งสินค้า ค้าขาย และฟู้ดทรัค เป็นต้น
สำหรับ “อุตสาหกรรมยานยนต์” เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ถึง 18% ซึ่งประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะการผลิตรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก
ทั้งนี้จากยอดผลิตรถยนต์รวมทุกประเภท จากฐานการผลิตของไทยจำนวน 1.477 ล้านคัน (ขายในประเทศ+ส่งออก) เป็นสัดส่วนการผลิตรถกระบะ 1 ตัน เกือบ 50% หรือกว่า 730,000 คัน โดยภาพรวมอุตสาหกรรมช่วงที่ผ่านมา การผลิตเพื่อขายในประเทศและการส่งออกจากเดิมสัดส่วนอยู่ที่ 50:50
แต่ในปี 2567 พบว่าตลาดในประเทศหดตัวทำให้การผลิตเพื่อขายในประเทศลดลงเหลือ 31% ขณะที่การส่งออกเพิ่มเป็น 69% โดยเชื่อมั่นว่าจากมาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ซบเซาให้กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง
จุดเด่นของมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” ยังช่วย SMEs ลดภาระทางการเงิน ด้วยสิทธิประโยชน์ ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปีแรก โดยรัฐบาล กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้
ส่วนปีที่ 4-7 คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันต่ำเพียง 1.5% ต่อปี ค้ำประกันนานสูงสุด 7 ปี หรือ 84 งวด วงเงินค้ำประกันสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อราย ภายใต้วงเงินค้ำประกันในระยะแรกจำนวน 5,000 ล้านบาท
กลุ่มเป้าหมายคือ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย ที่ขอสินเชื่อเช่าซื้อสำหรับซื้อรถกระบะใหม่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยเปิดรับคำขอค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 และสิ้นสุดรับคำขอค้ำประกันภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568
คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการซื้อรถกระบะใหม่ เข้าถึงสินเชื่อได้กว่า 6,250 ราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบกว่า 5,000 ล้านบาท และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 21,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังช่วยพลิกฟื้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยได้มากกว่า 2,500 บริษัทนายสิทธิกร กล่าวว่า มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ บสย. SMEs PICK-UP อยู่ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 “บสย. SMEs ยั่งยืน”
ดังนั้นลูกหนี้ SMEs ที่ถือหนังสือค้ำประกัน บสย. จะได้รับความช่วยเหลือในกรณีที่ประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดต่อได้จนกลายเป็นหนี้เสีย และรถถูกยึดขายทอดตลาดเสร็จสิ้นแล้ว โดยไฟแนนซ์พิจารณาส่งยอดหนี้คงเหลือมาเคลมกับ บสย.
ซึ่งลูกหนี้ที่ถูกจ่ายเคลมภายใต้มาตรการนี้ สามารถเข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ “บสย. พร้อมช่วย” หรือ มาตรการ 3 สี ม่วง เหลือง เขียว ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ บสย. (SMEs ที่ บสย. จ่ายเคลม) ผ่อนยาวสูงสุด 7 ปี ดอกเบี้ย 0% ตัดเงินต้นก่อนตัดดอก
และสำหรับลูกหนี้ดี มีวินัย สามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้น โดย บสย. ลดเงินต้นให้สูงสุด 10-15% และพิเศษลดเงินต้น 30% สำหรับลูกหนี้ “กลุ่มเปราะบาง” ที่เงินต้นไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อให้ความช่วยเหลือ SMEs ครอบคลุมทุกกลุ่ม
พร้อมปรับสิทธิประโยชน์ให้มีความยืดหยุ่น ผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถแก้หนี้ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น พร้อมฟื้นฟูธุรกิจเดินหน้าต่อได้อย่างยั่งยืน
24 มีนาคม 2568
ผู้ชม 119 ครั้ง