SET ชี้!ปี67 กำไรสุทธิบจ. ลดลง 3.7%
SET ชี้!ปี67 กำไรสุทธิบจ. ลดลง 3.7%
SET ชี้!ปี67 กำไรสุทธิบจ. ลดลง 3.7%
น้ำมัน/ปิโตรเคมีทรุด!สวนทางEECรุ่ง!
บริษัทจดทะเบียน (บจ.) รายงานผลการดำเนินงานปี 2567 กลุ่มธุรกิจทั่วไปรายงานกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เติบโตจากการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าเพิ่มไปสู่หมวดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค บริการ
อีกทั้งกลุ่มการเงินได้รับผลบวกจากอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ตามภาพรวมกำไรสุทธิลดลงจากหมวดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บจ. จำนวน 807 บริษัท นำส่งผลการดำเนินงานปี 2567 คิดเป็น 98.9% จากทั้งหมด 816 บริษัท (รวม SET และ mai ที่มีกำหนดส่งงบการเงิน ณ สิ้นงวด 31 ธันวาคม 2567
และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 604 บริษัท คิดเป็น 74.8% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด ผลการดำเนินงานปี 2567 เทียบกับปีก่อน บจ. ใน SET มียอดขาย 17,524,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1%
ขณะที่ต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายการขายและบริหารเพิ่มขึ้นสูงกว่าเล็กน้อย ทำให้ บจ. มีกำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit) 1,559,270 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 859,401 ล้านบาท ลดลง 1.1% และ 3.7% ตามลำดับ
ทั้งนี้หากพิจารณาในกลุ่มธุรกิจทั่วไป (ไม่รวมหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์) บจ. จะมียอดขาย กำไรจากการดำเนินงานหลัก และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
สำหรับฐานะการเงินของกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บจ. ไทยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ratio (ไม่รวมอุตสาหกรรมการเงิน) อยู่ที่ 1.49 เท่า ลดลงจาก 1.52 เท่า
ผลประกอบการ |
อัตราการเติบโตเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) |
||
ปี 2567 |
ยอดขาย |
กำไรจากการดำเนินงาน |
กำไรสุทธิ |
บจ. ทั้งหมดใน SET |
3.1% |
(1.1%) |
(3.7%) |
- บจ. ธุรกิจทั่วไป |
4.3% |
10.2% |
8.6% |
- บจ. ธุรกิจน้ำมัน |
1.8% |
(16.0%) |
(31.7%) |
บจ. ทั้งหมดใน mai |
3.8% |
27.9% |
5.5% |
“การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลบวกให้ บจ. ไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว การอุปโภคบริโภค และการบริการ มีผลประกอบการดีขึ้น เช่น หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ค้าปลีก โรงแรม การบิน โรงพยาบาล โทรคมนาคม และพื้นที่เช่าการค้า
นอกจากนี้พบการเติบโตในกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมจากอุปสงค์ในพื้นที่ EEC ที่เพิ่มขึ้นมาก สอดคล้องกับกระแสการย้ายฐานการผลิต (relocation) และจำนวนคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และธุรกิจการเงินซึ่งได้รับผลบวกจากอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันและส่วนต่างค่าการกลั่นปรับลดลงในปี 2567 กดดันความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและปิโตรเคมีภัณฑ์ และภาพรวมของ บจ. ทั้งหมด” นายอัสสเดช กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า
ด้านผลการดำเนินงานของ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) งวดปี 2567 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงเติบโต โดย บจ. มียอดขายรวม 209,453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8%
ขณะที่ บจ. ควบคุมต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ดี ส่งผลให้มีกำไรจากการดำเนินงาน 14,995 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 5,550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.9% และ 5.5% ตามลำดับ
18 มีนาคม 2568
ผู้ชม 77 ครั้ง