กองทุนประกันวินาศภัย เทหมดหน้าตัก!เคลียร์หนี้ 70,000 ลบ.
กองทุนประกันวินาศภัย เทหมดหน้าตัก!เคลียร์หนี้ 70,000 ลบ.
กองทุนประกันวินาศภัย เทหมดหน้าตัก!เคลียร์หนี้ 70,000 ลบ.
ลุ้น!ทางรอดเพิ่มเงินสมทบ-เดินหน้าตรวจสอบลูกหนี้/ไล่บี้!เจ้าหนี้
กองทุนประกันวินาศภัย จัด โครงการกองทุนประกันวินาศภัยพบเครือข่ายสื่อมวลชน โดย นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในรอบปี 2567 กรณี 4 บริษัทเดิม ได้แก่ บมจ.เอเชียประกันภัย 1950, บมจ.เดอะ วัน ประกันภัย, บมจ.ไทยประกันภัย และบมจ.อาคเนย์ประกันภัย
โดยมีจำนวนคำทวงหนี้ที่พิจารณารับรองมูลหนี้จากกองทุนประกันวินาศภัย กรณีได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2567
กองทุนประกันวินาศภัยได้จ่ายชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ยื่นคำทวงหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย จำนวน 30,563 ราย เป็นเงินจำนวน 1,898,119,985.38 บาท และยังเหลือที่ยังไม่ได้รับเงินอีกจำนวนประมาณ 600,000 ราย มูลค่าประมาณ 48,000 ล้านบาท
กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) กองทุนประกันวินาศภัยดำเนินการเปิดรับคำทวงหนี้ ในฐานะผู้ชำระบัญชี ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2567 (08.30 น.)
สิ้นสุดวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 (16.30 น.) รวมจำนวนคำทวงหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด จำนวน 260,502 ราย เป็นเงินจำนวนประมาณ 22,647,210,053 บาท
รวมลูกหนี้ทั้ง 5 บริษัท จำนวน 800,000 ราย คิดเป็นมูลค่าหนี้จำนวน 70,000 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนฯ มีการชำระหนี้ไปแล้วจำนวน 8,400 ล้านบาท ส่งผลให้เหลือเงินอยู่จำนวน 900 ล้านบาท
ซึ่งยังต้องสำรองไว้สำหรับกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความเกิน 2 ปี ไว้อีก 10 ปี จำนวน 100 ล้านบาท รวมถึงสำรองไว้เพื่อชำระให้กับเจ้าหนี้ที่รอการอนุมัติอีก ดังนั้นกองทุนฯ จะเหลือเงินอีกเพียง 370 ล้านบาทเท่านั้น
นายชนะพล กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2568 นั้นสิ่งที่สำคัญคือ การจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยทั้งหมด ประมาณ 850,000 ราย จำนวนเงินประมาณ 72,000 ล้านบาท ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปี (2568–2569)
การจัดหาที่ปรึกษาทางการเงินช่วยวิเคราะห์หนี้สินของกองทุนประกันวินาศภัย วิเคราะห์แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้, การประนอมหนี้ แนวทางการชำระหนี้ และการหาแหล่งเงินเพื่อมาชำระหนี้แก่ผู้เอาประกันภัยที่ยื่นคำทวงหนี้ต่อกองทุนในกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต(ศึกษาวิเคราะห์ภายในปี 2568)
เร่งชำระสะสางคดีความต่างๆ การจัดการจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตในกระบวนการชำระบัญชี และการเพิ่มสมรรถนะองค์กรด้านบุคลากรและเทคโนโลยีเพื่อรองรับปริมาณงาน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้มีต่ออุตสาหกรรมประกันภัยและให้ประชาชนใช้ระบบประกันภัยในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
"สำหรับแนวทางการหารายได้ของกองทุนฯเพื่อมาชำระลูกหนี้นั้น แนวทางการเพิ่มอัตราเงินสมทบจากปัจจุบันที่ 0,50% ของเบี้ยประกันวินาศภัยจากบริษัทสมาชิกยังต้องรอความชัดเจนจากสำนักงานคปภ.
สวนการขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์จำนวน 3,000 ล้านบาทนั้นเมื่อกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันก็เป็นไปได้ยากมาก ในขณะที่แนวทางการออกพันธบัตรนั้นทางกองทุนฯก็ต้องมีการบริหารงานที่ชัดเจนของรายได้ที่เพิ่มขึ้นและหนี้สินลดลงจึงจะดำเนินการได้" นายชนะพล กล่าวสรุป
08 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 41 ครั้ง