KBank Private Banking จับมือ CG Capital ชี้โอกาสสร้างพอร์ต
KBank Private Banking จับมือ CG Capital ชี้โอกาสสร้างพอร์ต
KBank Private Banking จับมือ CG Capital ชี้โอกาสสร้างพอร์ต
เติบโตระยะยาวกับกองทุนอสังหาฯ เจาะกลุ่มธุรกิจโรงแรม รองรับท่องเที่ยว
KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) เห็นโอกาสในการลงทุนจากธุรกิจท่องเที่ยวไทย ที่สามารถพลิกฟื้นกลับมาขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นอกตลาดรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการ และการบริโภคที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยว
ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยจะฟื้นตัวสูงกว่าระดับก่อนการระบาดของโควิด 19 ได้ภายในปี 68
โดยประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงถึงเสถียรภาพและความแข็งแกร่งของตลาดการท่องเที่ยวไทยในระยะยาว
ล่าสุดร่วมกับ KAsset และ CG Capital บริษัทบริหารกองทุนภายใต้ Central Group เพื่อลงทุนในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวของไทย
มุ่งเน้นในเมืองท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุย ผ่านการลงทุนในกองทุนเปิดเค Thailand Real Estate 24 A ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (K-THRE 24 A UI) โดยมีกำหนดเปิดเสนอขายครั้งแรกตั้งแต่วันนี้จนถึง 25 พฤศจิกายนนี้ โดยเริ่มต้นลงทุน 500,000 บาท
ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Senior Managing Director, Private Banking Business Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ให้คำแนะนำและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน มองเห็นโอกาสรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) และยังช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนให้พอร์ตการลงทุน
ควบคู่กับการลงทุนของพอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิม โดยพบว่าสินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด (Private Real Estate) มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของโรงแรมและที่พักอาศัย
เพราะหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด อุปทานที่มีในตลาดปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการใหม่ที่ต่างไปจากเดิม ทำให้เกิดช่องว่างซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไป
เช่น พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มท่องเที่ยวเป็นครอบครัวมากขึ้น การเน้นท่องเที่ยวแบบสร้างประสบการณ์ (Experiential Travel) และระยะเวลาในการเข้าพักที่นานขึ้นเกิดจากการผสมผสานการพักผ่อน และการทำงานเข้าด้วยกัน (Workation)
นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่กำลังกลับเข้ามาสู่ประเทศไทย ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการท่องเที่ยวทำให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการในประเทศไทยมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
ดร.ตรีพล กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นอกตลาดในไทยในช่วงเวลานี้ถือเป็นโอกาสและจังหวะที่ดีที่เข้าลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรงแรม ที่พักอาศัย และโครงการอื่นๆ ที่มีส่วนได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและคนไทยที่ต้องการมองหาบ้านพักอากาศหลังที่สอง
และภาคการท่องเที่ยว ที่กำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังการระบาดของโควิด 19 ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้จัดการกองทุนหลักได้มีการจัดหาเจรจาต่อรองราคาและเงื่อนไขการลงทุนในโครงการต่างๆ ไว้แล้ว
นอกจากนี้ยังมีความได้เปรียบจากเครือข่ายและการสนับสนุนจาก Central Group และพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนมาอย่างยาวนาน
ทำให้ KBank Private Banking เชื่อว่าการลงทุนในกองทุนเปิดเค Thailand Real Estate 24 A ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย เป็นโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับลูกค้า KBank Private Banking อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
จะช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนจากสินทรัพย์ดั้งเดิมอย่างหุ้นและตราสารหนี้ และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาวให้กับนักลงทุนได้
นายภูมิ จิราธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริหาร บริษัท CG Capital กล่าวว่า บริษัทได้จัดตั้งกองทุนแรกขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ลงทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งจะมีทั้งการลงทุนในโรงแรม คอนโดมิเนียม สวนสนุก สวนน้ำ และ Mixed-use ที่เกี่ยวข้อง
มุ่งเน้นในเมืองท่องเที่ยวหลักของประเทศ โดยคาดว่าจะลงทุนปีละ 3-5 โครงการ โดยเหตุผลที่จัดตั้งกองทุนแรกนี้ขึ้นมา เพราะมีความเชื่อมั่นว่าภาคธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยยังมีอนาคตที่ดี
และเชื่อว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยวจะเติบโตต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงกลุ่ม Expat และ Digital Nomad ที่มองประเทศไทยเป็นจุดหมายอันดับต้นๆ ของโลก
และสิ่งที่ทีมให้ความสำคัญในทุก การลงทุน คือการออกแบบ และพัฒนาโครงการ เพื่อให้แต่ละโครงการสามารถ Exit ในจังหวะที่เหมาะสม และรองรับ Global Demand ณ ตอนนี้ถือว่ามี Supply ในตลาดค่อนข้างจำกัด
12 พฤศจิกายน 2567
ผู้ชม 29 ครั้ง