จระเข้ ลุยนวัตกรรมรักษ์โลก เปิดตัว "Jorakay Green Pack"
จระเข้ ลุยนวัตกรรมรักษ์โลก เปิดตัว "Jorakay Green Pack"
จระเข้ ลุยนวัตกรรมรักษ์โลก เปิดตัว "Jorakay Green Pack"
ถุงกาวซีเมนต์จากวัสดุรีไซเคิล ลดการปล่อยคาร์บอนลง49%
บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำนวัตกรรมก่อสร้างครบวงจรที่ใส่ใจคนและดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว เร่งสานต่อแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนด้วยการเปิดตัว "Jorakay Green Pack (จระเข้ กรีนแพ็ก)" นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์กาวซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยร่วมกันพัฒนากับ SCGP ชูการใช้กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลจากวัสดุรีไซเคิล (Recycled Extensible Kraft Paper) ใช้วัสดุรีไซเคิลมากถึง 70% และลดความหนาของชั้นพลาสติก PE ลงกว่า 60% จาก 20 ไมครอน เหลือเพียง 8 ไมครอน
ตลอดจนปรับดีไซน์ฉลากสินค้า ลดการใช้หมึกพิมพ์จาก 3 สีเหลือเพียงสีเขียวสีเดียว พร้อมปรับรูปแบบการเจาะระบายอากาศเพื่อลดมลภาวะจากการฟุ้งกระจายของฝุ่น
โดย Jorakay Green Pack ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตลงถึง 49% "จระเข้" เผยเริ่มปักหมุดการใช้บรรจุภัณฑ์ใหม่กับผลิตภัณฑ์กาวซีเมนต์ "จระเข้เขียว" (Green Crocodile Tile Adhesive) ถุงใหญ่ขนาด 25 กิโลกรัม
เป็นกาวซีเมนต์ที่มียอดขายอันดับหนึ่งที่ช่างไทยและโครงการก่อสร้างไว้วางใจเลือกใช้ พร้อมตั้งเป้าเจาะกลุ่มผู้รับเหมาและโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ ร่วมปักธงวงการก่อสร้างที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
โดยการปรับบรรจุภัณฑ์ของจระเข้ สะท้อนความมุ่งมั่นของจระเข้ในการนำ "ความกรีน" มาเป็นสารตั้งต้นในการดำเนินธุรกิจทุกมิติ สอดรับกับการเดินหน้านโยบายด้านความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในอนาคต
นายศุภพงษ์ เพชรสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยถึงแนวคิดเบื้องหลังการเปิดตัว “จระเข้ กรีนแพ็ก” ว่า ตลอดเวลากว่า 32 ปีที่ดำเนินธุรกิจนวัตกรรมงานก่อสร้างครบวงจร จระเข้ ตระหนักดีว่าปัญหา Climate Change หรือภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข
ดังนั้นจึงมุ่งมั่นสร้างธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่า Sustainable Packaging เป็นเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้จึงเปิดตัว Jorakay Green Pack บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกคุณภาพสูงที่ออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน โดยใช้กระดาษคราฟท์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลถึง 70%
ลดความหนาของพลาสติกลงถึง 60% เปลี่ยนดีไซน์ของฉลากให้ลดปริมาณการใช้หมึกที่ไม่จำเป็น โดยการผลิตถุง Jorakay Green Pack ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้มากถึง 49% ต่อใบ
“จระเข้ ปักหมุดการใช้บรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ด้วยกาวซีเมนต์จระเข้เขียวในขนาด 25 กิโลกรัม ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ 600,000 ถุงต่อปี ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาเป็น Jorakay Green Pack ก็จะสามารถลดการปล่อย CO2 ได้มากถึง 110 ตันคาร์บอน/ปี
มั่นใจว่า Jorakay Green Pack จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้รับเหมาและโครงการทั่วประเทศ สอดรับกับแนวคิดวงการก่อสร้างสีเขียวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ” นายศุภพงษ์ กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า
"จระเข้” เดินหน้าวิจัยและพัฒนาเพื่อขยายการใช้ Jorakay Green Pack กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ พร้อมเร่งพลิกโฉมทุกกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งในด้านการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มาตรฐานสากลและกระบวนการทำงานภายในองค์กร ให้พร้อมรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่ช่วยยกระดับชีวิตผู้คน-ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
เมื่อเร็วๆ นี้ จระเข้ ได้ประกาศเดินหน้าติดตั้งแผนโซลาร์เซลล์ทั้งที่โรงงานและสำนักงานใหญ่ และเตรียมสานต่อนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการปลูกและดูแลป่าระยะยาวถึง 10 ปีภายใต้ชื่อ “Jorakay Green Earth” เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต
ด้านนายวิชาญ เจริญกิจสุพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการกระดาษบรรจุภัณฑ์ SCGP กล่าวถึงแนวโน้มบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนและความพิเศษของถุง Jorakay Green Pack ว่า ปัจจุบัน องค์กรชั้นนำในประเทศไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเลือกวัสดุและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองหรือไม่จำเป็น
โดยเน้นการใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ (Recyclability) หลังใช้งานแล้ว ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ SCGP ตอบโจทย์นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของจระเข้ได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นจึงเลือกใช้วัสดุกระดาษรีไซเคิลมาผลิตถุง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่แล้ว ยังสามารถรวบรวมถุงกระดาษเก่า กลับมาหมุนเวียนใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ได้อีกด้วย ตามแนวทาง Circular Economy
โดยถุง Jorakay Green Pack ผ่านการทดสอบคุณภาพในการใช้งานอย่างครบถ้วน ด้วยเทคโนโลยีการเจาะรูในรูปแบบใหม่ ทำให้ระบายลมในระหว่างบรรจุปูนได้ดี ลดการฟุ้งกระจายตัวของฝุ่น ลดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย
30 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 38 ครั้ง