ธนาคารกรุงเทพ จัดงาน "วันเกษตรก้าวหน้า ประจำปี 2566"
ธนาคารกรุงเทพ จัดงาน "วันเกษตรก้าวหน้า ประจำปี 2566"
ธนาคารกรุงเทพ จัดงาน "วันเกษตรก้าวหน้า ประจำปี 2566"
ช้อปสินค้าเกษตร หนุนใช้จ่ายปลายปี สร้าง Smart Farming สู่สากล
ธนาคารกรุงเทพ เดินหน้าจัดมหกรรมจำหน่ายสินค้าเกษตรส่งท้ายปี ในงาน “วันเกษตรก้าวหน้า ประจำปี 2566” คัดสรรสินค้าเกษตรไทยคุณภาพส่งออก ส่งตรงจาก 56 ร้านค้า ทั้งสินค้าเกษตรนวัตกรรม สินค้าชุมชน และสินค้าเกษตรปลอดภัยต่อสุขภาพ
ให้เลือกช้อปหรือซื้อเป็นของขวัญแก่คนรัก เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คาดมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเสริมเกราะความรู้เกษตรกรไทย ยกระดับสู่ Smart Farming ในงานสัมมนาพิเศษ “วันเกษตรก้าวหน้า’66” ณ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สีลม
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ ได้จัดงานมหกรรมจำหน่ายสินค้าเกษตร “วันเกษตรก้าวหน้า ประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีนำสมัย การจัดการเหมาะสม สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ซึ่งปีนี้มีเกษตรกรและผู้ผลิตเข้าร่วมออกบูธจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป็น 56 ร้านค้า แบ่งเป็นโซนสินค้า เกษตรนวัตกรรม สินค้าชุมชน และสินค้าเกษตรปลอดภัยต่อสุขภาพ
โดยเป็นสินค้าคุณภาพส่งออก นำมาจำหน่ายในราคาพิเศษ เช่น กล้วยไม้และไม้ประดับนานาพันธุ์,เครื่องประดับจากดอกกล้วยไม้, ผลิตภัณฑ์จากแมคคาเดเมีย, สตอร์เบอร์รี่สดและแปรรูป, ผักสลัดที่ปลูกจาก Plant Factory, ขนมปังผักเคล, ส้มสายน้ำผึ้ง, เมล่อน, น้ำผึ้งคุณภาพดี,
มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพส่งออก, ส้มโอทับทิมสยาม, ส้มโอขาวน้ำผึ้ง, ส้มโอทองดี, ปลากะพงสองน้ำพร้อมรับประทาน, ไส้อั่วเผาเตาหลวง, ไข่ไก่คุณภาพคัดพิเศษ, เต้าหู้ผัก,
ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอะโวคาโด, ปลาส้ม, ผลิตภัณฑ์จากนมแพะ, ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์และผลไม้ รวมทั้งอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 2,000 คน มีเม็ดเงินสะพัดตลอดทั้งงานไม่ต่ำว่า 3 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพ ได้ดำเนินโครงการเกษตรก้าวหน้า ตั้งแต่ปี 2542 ในสมัย อดีตท่านประธานกรรมการบริหาร คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ โดยมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและยกระดับภาคการเกษตรของไทย
โดยในยุคแรก ธนาคารมุ่งส่งเสริมองค์ความรู้โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ของเกษตรกร รวมทั้งเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้น
ยุคที่ 2 สนับสนุนการสร้างเครือข่าย ใน 2 ส่วนหลัก คือ เครือข่ายด้านการตลาด และ เครือข่ายด้านการผลิต โดยธนาคารยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการ Matching Business ระหว่างผู้ผลิตและผู้ส่งออก
ทั้งในรูปแบบของการจัดนิทรรศการผลงาน และเปิดโอกาสให้เกษตรก้าวหน้า นำผลผลิตมาจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ในงาน “วันเกษตรก้าวหน้า” อีกด้วย
และปัจจุบัน คือ ยุคที่ 3 โดยธนาคารยังคงมุ่งมั่นในการผลักดันให้เกษตรกรไทย ก้าวสู่การเป็น Smart Farming หรือ การทำเกษตรแนวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มคุณภาพ
ปริมาณของผลิตผลทางการเกษตร และยังช่วยลดต้นทุนในระยะยาว ขณะเดียวกันยังเป็นการเสริมศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดโลกอีกด้วย
“ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม มีเกษตรกรกว่า 7.7 ล้านครัวเรือน เป็นพื้นฐานรายได้ที่สำคัญของไทย ดังนั้นภาคเกษตรไทยจำเป็นต้องเข้มแข็งและมีความยั่งยืน โดยตลอด 24 ปีที่ผ่านมาธนาคารกรุงเทพได้เล็งเห็นความสำคัญของภาคการเกษตร
ไม่เพียงแต่บริการทางการเงิน แต่เรายังต้องการสนับสนุนให้ภาคเกษตรมีการปรับตัว และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ซึ่งปัจจุบันถือเป็นยุคที่ 3 หรือ ยุคของนวัตกรรม กระบวนการที่จะพัฒนาต่อไปขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ธนาคารกรุงเทพ ยังคงเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
เพื่อร่วมยกระดับเกษตรกรไทยให้เป็น Smart Farming ก็ดี Precision Farming ก็ดี ตลอดจนถึงเรื่องของการใช้ผลผลิตทางการเกษตรอย่างครบวงจร (Zero Waste) ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นต้น” นายพิเชฐ กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า
ทั้งนี้ภายในงาน ธนาคารกรุงเทพ ยังได้จัดพิธีมอบรางวัล “เกษตรก้าวหน้า พ.ศ. 2566” เพื่อเชิดชูเกียรติ และส่งเสริมให้เกษตรกรไทยปรับตัวและเกิดการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิตมากขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย
- รางวัลเกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลดีเด่น ได้แก่ นายสุวิทย์ ไตรโชค บริษัท นาวิต้าฟาร์ม จำกัด อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจ้าของฟาร์มเมล่อน เกษตรกรเจ้าแรกๆ ที่คิดค้นพัฒนาเทคนิควิธีการปลูกเมล่อนสายพันธุ์ญี่ปุ่น ระดับสินค้าพรีเมียม ด้วยการปรับใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี IOT ควบคุมการผลิต จนสามารถส่งขายทั้งในและต่างประเทศตลอดปีแบบไร้โรงเรือน
- รางวัลผู้บริหารซัพพลายทางการเกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสุนทร ศรีทวี บริษัท บลู ริเวอร์ โปรดักส์ จำกัด อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผักและผลไม้สด เพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ วางโครงสร้างการจัดการห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตร (Supply Chain) ไว้เป็นระบบอย่างเข้มแข็ง สามารถพัฒนาควบคุมคุณภาพได้ตั้งแต่ต้นทางการปลูกไปจนถึงส่งออก เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- รางวัลเกษตรรุ่นใหม่ดีเด่น ได้แก่ นายฐิติพงษ์ จงหมายลักษณ์ บริษัท เชียงใหม่ เฟรช โปรดักส์ จำกัด อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรรุ่นใหม่และทายาทธุรกิจรุ่น 2 ของสวนส้มจงลักษณ์ ต่อยอดธุรกิจครอบครัวพัฒนาคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการจัดการในแปลงด้วยเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูล และพัฒนาช่องทางตลาดสมัยใหม่ ตอบสนองความต้องการสินค้าทั่วประเทศ
23 ธันวาคม 2566
ผู้ชม 236 ครั้ง