EXIM BANK ร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 28
EXIM BANK ร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 28
EXIM BANK ร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 28
ลงนามความร่วมมือ China EXIM-Saudi EXIM Bank สนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เข้าร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย (Asian EXIM Banks Forum : AEBF) ครั้งที่ 28
เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจและบริการสนับสนุนการส่งออก โดยสมาชิกได้หารือแนวทางขยายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มบริบทโลกในทศวรรษ 2040
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุลของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและโลกโดยรวม ในหัวข้อการประชุม “Export Credit 2040 : Future Priorities for An Evolving Landscape” ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2566
โอกาสนี้ EXIM BANK ได้มีการประชุมหารือทวิภาคีกับองค์กรสมาชิก AEBF และนำไปสู่การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China EXIM)
เพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการการค้าการลงทุนไทย-จีนภายใต้ Belt Road Initiative โครงการพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน โครงการเศรษฐกิจสีเขียว
รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องกลและอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ แปรรูปอาหาร และยานยนต์ ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนทั้งในไทย จีน และประเทศที่สาม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและฝึกอบรมบุคลากร
นอกจากนี้ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง EXIM BANK กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศซาอุดีอาระเบีย (Saudi EXIM Bank) เพื่อสนับสนุนทางการเงินให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและบริการจากประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย
ค้ำประกันทางการเงิน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-ซาอุดีอาระเบีย ตลอดจนความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรร่วมกัน
ทั้งนี้ สมาชิก AEBF จำนวน 11 ประเทศ ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ตุรเคีย และไทย
รวมทั้งธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) องค์กรการส่งออกแห่งประเทศออสเตรเลีย (EFA) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเวียดนาม โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นผู้สังเกตการณ์ถาวร
และมีหน่วยงานเข้าร่วมสังเกตการณ์ 3 องค์กร ได้แก่ องค์กรการพัฒนาการส่งออกแคนาดา (EDC) การเงินเพื่อการส่งออกแห่งสหราชอาณาจักร (UKEF) และ Saudi EXIM Bank
28 พฤศจิกายน 2566
ผู้ชม 109 ครั้ง