อลิอันซ์ เปิดรายงาน Allianz Global Wealth Report 2023
อลิอันซ์ เปิดรายงาน Allianz Global Wealth Report 2023
อลิอันซ์ เปิดรายงาน Allianz Global Wealth Report 2023
พบสินทรัพย์การเงินครัวเรือนไทย รับผลกระทบเงินเฟ้อ เติบโตช้า!
- สินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนทั่วโลกลดลงถึง 2.7% มากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินโลก
- สามในสี่ของการเติบโตของสินทรัพย์ในโลกช่วง 20 ปีที่ผ่านมาไร้ความหมายจากการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
- สินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเติบโตระหว่าง 4% ถึง 5% ในอีกสามปีข้างหน้า
- การเติบโตของหนี้สินครัวเรือนลดลงอย่างรวดเร็ว ในเอเชียลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง
- ในประเทศไทย การเติบโตช้าลงแต่ยังเป็นบวกที่ 2.1%
อลิอันซ์เผยแพร่ “Allianz Global Wealth Report” ฉบับที่ 14 วิเคราะห์สถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินของครัวเรือนในเกือบ 60 ประเทศ ระบุปี 2566 เป็นปีที่ย่ำแย่ 2565 เป็นปีที่ไม่ดีสำหรับผู้มีเงินออม ราคาสินทรัพย์ลดลงทุกกลุ่มภายใต้ในสถานการณ์ที่อาจเรียกได้ว่า "ทุกอย่างตกต่ำ"
สินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนทั่วโลกลดลงถึง 2.7% ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินโลกในปี 2551 อัตราการเติบโตของสินทรัพย์หลักทั้งสามประเภทแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น หลักทรัพย์ (-7.3%) และประกันภัย/บำนาญ (-4.6%) หดตัวอย่างมาก
ในขณะที่เงินฝากธนาคารเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 6.0% ความสูญเสียโดยรวมเท่ากับสินทรัพย์ทางการเงินมูลค่า 6.6 ล้านล้านยูโร สินทรัพย์ทางการเงินรวมอยู่ที่ 233 ล้านล้านยูโร ณ สิ้นปี 2565 63.9 ล้านล้านยูโรหรือ 27% อยู่ในภาคครัวเรือนในเอเชีย
ประเทศไทยมีการเติบโตในระดับปานกลาง
สินทรัพย์ทางการเงินรวมของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเพียง 2.1% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าการเพิ่มขึ้น 9.7% ในปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลัก คือ การลดลงของสินทรัพย์ต่างๆ อาทิ สินทรัพย์ประกัน/บำนาญ ซึ่งสูญเสียมูลค่ากว่า 3.5% เป็นการลดลงครั้งแรกในศตวรรษนี้
หลักทรัพย์ก็น่าผิดหวังเช่นกัน โดยเติบโตลดลงจาก 26.4% (2564) เป็น 3.1% ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามเงินฝากธนาคารซึ่งมีส่วนแบ่งพอร์ตการลงทุนมากกว่า 50% และเป็นประเภทสินทรัพย์หลักในประเทศไทยยังทรงตัว
โดยเติบโตขึ้น 3.6% (2564: 4.0%) เมื่อเทียบกับปีก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2562 สินทรัพย์ทางการเงินสูงขึ้น 20.8% แต่เป็นในเชิงตัวเลขเท่านั้น เมื่อปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว การเพิ่มขึ้นจะลดลงเฉลี่ย 13.5% ในสามปี
ในขณะที่การเติบโตของหนี้สินชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็น 3.7% เทียบกับ 3.9% ในปี 2564 จึงทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ลดลง 3 จุด อยู่ที่ 87% ซึ่งยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 26 จุด
โดยสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิเกือบจะทรงตัว (+0.5%) ด้วยสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิต่อหัวที่ 5,110 ล้านยูโร ทำให้ประเทศไทยวันนี้ยังคงอยู่ในอันดับที่ 45 ในการจัดอันดับประเทศที่ร่ำรวยที่สุด
ด้านอเมริกาเหนือมีอัตราการเติบโตลดลงมากที่สุด หรือลดลง 6.2% ตามมาด้วยยุโรปตะวันตก (4.8%) ในทางกลับกัน เอเชียยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 4.6% ในปี 2565 เทียบกับ 10.2% ในปี 2564
แม้แต่ญี่ปุ่นยังมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะเล็กน้อยมาก (0.2%) ในทางตรงกันข้าม ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีการเติบโตเป็นเลขสองหลัก
สินทรัพย์ทางการเงินของจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน โดยสูงถึง 6.9% แต่ในปีที่แล้วสูงขึ้น 13.3% และมีค่าเฉลี่ยระยะยาวในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 15.9% ถือเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง โดยเป็นผลจากการล็อกดาวน์หลายครั้ง
แม้จะขาดทุนอย่างหนัก แต่สินทรัพย์ทางการเงินในครัวเรือนทั่วโลกยังคงสูงกว่าช่วงก่อนโควิด 19 เกือบ 19% ณ สิ้นปีที่แล้ว ในเชิงตัวเลข เมื่อปรับตามอัตราเงินเฟ้อ เกือบสองในสามของการเติบโต (เชิงตัวเลข) ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคา และส่งผลให้การเติบโตที่แท้จริงลดลงเหลือเพียง 6.6% ภายในสามปี
ในขณะที่ภูมิภาคส่วนใหญ่ของโลกสามารถรักษาอัตราการเติบโตได้อย่างแท้จริง ยุโรปตะวันตกไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่ได้มีความหมายอะไรเลย
และความมั่งคั่งที่แท้จริงลดลง 2.6% เมื่อเทียบกับปี 2563 เอเชียมีการเติบโตที่แท้จริงเกือบ 20% ในช่วงสามปีจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ไม่เว้นแม้กระทั่งในจีนและญี่ปุ่น
ลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอลิอันซ์ กล่าวว่า ศัตรูที่แท้จริงของเงินออมคือ เงินเฟ้อ ไม่เฉพาะแต่เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นตั้งแต่หลังโควิด 19 ที่พุ่งสูงขึ้น ในประเทศไทย การเติบโตเชิงตัวเลขและการเติบโตที่แท้จริงแตกต่างกันอย่างมาก สินทรัพย์ต่อประชากรเพิ่มขึ้น 390%
หากไม่นับอัตราเงินเฟ้อในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อปรับตามกำลังซื้อ สินทรัพย์ต่อประชากรเพิ่ม 150% แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการออมอย่างชาญฉลาดและความเท่าทันทางการเงิน
แต่ภาวะเงินเฟ้อเป็นเหมือนมารร้ายที่ยากจะเอาชนะได้ หากไร้การกระตุ้นเตือนและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการออมในระยะยาว ผู้มีเงินออมส่วนใหญ่อาจประสบปัญหา
มาตรการรัดเข็มขัด
การฟื้นตัวของอัตราดอกเบี้ยส่งผลอย่างชัดเจนในด้านหนี้สินของงบดุลครัวเรือน หลังจากที่หนี้ภาคเอกชนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 7.8% ในปี 2564 การเติบโตก็ลดลงอย่างมากในปีที่แล้วที่ 5.7% ในเอเชีย การเติบโตของหนี้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง จาก 10.3% (2564) เป็น 5.8% (2565)
การลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดเกิดขึ้นในประเทศจีน โดยการเติบโตของหนี้ในปีที่แล้วที่ 5.4% ถือเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยรวมแล้ว หนี้สินในครัวเรือนทั่วโลกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 55.8 ล้านล้านยูโร ณ สิ้นปี 2565 โดย 32% หรือ 18.1 ล้านล้านยูโรอยู่ในภาคครัวเรือนเอเชีย
เนื่องจากช่องว่างระหว่างหนี้และการเติบโตทางเศรษฐกิจกว้างขึ้นเป็น 3.9 จุดร้อยละ อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ทั่วโลก (หนี้สินคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP) จึงลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 2 จุดร้อยละ เป็น 66% ในปี 2565
ซึ่งหมายความว่าอัตราส่วนหนี้สินทั่วโลกสำหรับ ครัวเรือนส่วนบุคคลกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับตอนต้นสหัสวรรษ ซึ่งเป็นระดับความมั่นคงที่น่าทึ่งซึ่งแทบจะไม่สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่าทั่วโลกกำลังจมอยู่กับหนี้ อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภาวะหนี้ของโลก
ประการแรกและสำคัญที่สุดคือ ประเทศที่พัฒนาแล้วมีเสถียรภาพในลักษณะของการพัฒนา ในทางกลับกัน ตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่มีอัตราส่วนหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
ในเอเชียโดยรวม อัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 61% ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งสูงกว่าระดับเมื่อ 20 ปีที่แล้วประมาณ 7 จุดร้อยละ ค่าเฉลี่ยนี้แสดงถึงการพัฒนาที่น่าทึ่งบางประการ ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน อัตราส่วนหนี้สินสูงขึ้นมากกว่าสามเท่าอยู่ที่ 61%
สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิทั่วโลก ลดลงอย่างมากถึง 5.2% อยู่ที่ 176 ล้านล้านยูโร อย่างไรก็ตาม เอเชียเพิ่มขึ้น 4.2% เป็น 46 ล้านล้านยูโร แต่ไม่ใช่ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ที่จะเห็นการเติบโตเชิงบวกหลังเกิดหนี้สิน ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิลดลง แม้จะแค่เล็กน้อยก็ตาม
11 ตุลาคม 2566
ผู้ชม 435 ครั้ง