เมืองไทยประกันภัย โชว์เก้าเดือน ปี 65
เมืองไทยประกันภัย โชว์เก้าเดือน ปี 65
เมืองไทยประกันภัย โชว์เก้าเดือน ปี 65
กำไรพุ่ง 698.6 ล้านบาท เติบโต 11.6%
บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการ 9 เดือน ของปี 2565 ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวมที่สูงถึง 12,372.8 ล้านบาท
เติบโตจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 11.3 โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 698.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 11.6 จากปีก่อนสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัย
นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ MTI เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ของปี 2565 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 ว่า บริษัทมีผลประกอบการโดยรวมเติบโตเป็นที่น่าพอใจ เฉพาะไตรมาสที่ 3 มีกำไรสุทธิ 220.8 ล้านบาท
มาจากการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการรับประกันภัยได้ดีประกอบกับอัตราส่วนสินไหมปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน ส่งผลให้มีกำไรจากการรับประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัย นอกเหนือจากประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Marine Cargo) ประกันอัคคีภัย และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
โดยเล็งเห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่หัน มาดูแลใส่ใจสุขภาพเพื่อรองรับความเสี่ยงในชีวิตของตนเองและครอบครัวและรองรับสังคมผู้สูงอายุ จึงได้พัฒนาประกันสุขภาพ Health me+ (เฮลท์มีพลัส) เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการประกันภัยสุขภาพ ซึ่งให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกด้าน
สำหรับภาพรวมของเบี้ยประกันที่ถือเป็นรายได้สำหรับปี 2565 มีจำนวน 6,318.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 780.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.1 กำไรจากการรับประกันภัยหลังหักค่าใช้จ่ายดำเนินงานมีจำนวน 482.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 235.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.2
ในส่วนกำไรและรายได้จากการลงทุน มีจำนวน 393.2 ล้านบาท กำไรสุทธิปีนี้ จำนวน 698.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 72.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.6
“นับเป็นปีที่ 90 ของเมืองไทยประกันภัย ที่เรายังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจให้องค์กรเข้มแข็ง ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้บริหารและพนักงานทุกคนภายใต้สถานการณ์ที่กดดันและภาวะวิกฤตหลายต่อหลายครั้ง
ขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนในปี 2565 แต่ยังคงเดินหน้าเต็มกำลังเพื่อสร้างบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และยังต้องวางแผนรับความท้าทายที่ต้องปรับตัวพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยี
รวมถึงการตั้งรับโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เน้นให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงมิติของความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) ด้วยเช่นกัน” นางนวลพรรณ กล่าวสรุป
18 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 538 ครั้ง