"เอ็น อาร์ เอฟ" จับมือ "อีสท์วอเตอร์"
"เอ็น อาร์ เอฟ" จับมือ "อีสท์วอเตอร์"
"เอ็น อาร์ เอฟ" จับมือ "อีสท์วอเตอร์"
ศึกษากักเก็บคาร์บอนจากสาหร่ายทะเล
"เอ็น อาร์ เอฟ" จับมือ "อีสท์วอเตอร์" ศึกษาการกักเก็บคาร์บอนจากสาหร่ายทะเลเป็นที่แรกในประเทศไทย เพื่อประเทศไทยก้าวสู่ Net Zero Emission ในปี พ.ศ. 2593
ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการนำสาหร่ายกลับมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรต้นน้ำ คาดมูลค่าตลาดโลกเติบโตมากกว่า 197,000 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2573
เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่น่าจับตามอง เมื่อบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็น อาร์ เอฟ ผู้นำด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร อาหารสำเร็จรูป ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้รับมาตรฐานสากล
ร่วมกับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ผู้นำด้านการบริหารจัดการน้ำครบวงจร ได้ร่วมมือกันพัฒนารูปแบบการปลูกสาหร่าย
เพื่อกักเก็บคาร์บอนเป็นที่แรกในประเทศไทย ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืนทั้งเชิงอนุรักษ์ และเชิงพาณิชย์ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในละแวกใกล้เคียง
เอ็น อาร์ เอฟ และอีสท์วอเตอร์ เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดทำฟาร์มสาหร่าย ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอน
ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Global warming) เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นอย่างดี รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ชาวประมง และผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงให้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการนำสาหร่ายที่ได้ผลิตเป็น สินค้าอุปโภคบริโภค และแปรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ ตลอดจน เศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่อีกด้วย
นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็น อาร์ เอฟ (NRF) เปิดเผยว่า บริษัทได้มุ่งมั่นดำเนินตามนโยบายที่เคยได้กล่าวไว้คือ การเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนไทยที่ขับเคลื่อนองค์กรเพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืน
วางรูปแบบธุรกิจที่มุ่งสู่การลดคาร์บอนซึ่งถือเป็นพันธกิจหลักในการดำเนินงาน เนื่องจากการปล่อยคาร์บอนจากภาคธุรกิจอาหารมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก รวมทั้งการที่ให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคโปรตีนจากพืช (Plant-based Food) มากขึ้น
เพื่อก้าวเป็นบริษัทอาหารระดับโลกสำหรับศตวรรษที่ 22 จากสิ่งที่ได้ดำเนินนโยบายมา ถือเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพของภาคธุรกิจไทยที่พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนระดับโลก และการเป็นตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่นำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
“การที่ได้เข้าร่วมกับอีสท์วอเตอร์ ถือเป็นการเดินหน้าการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลรูปแบบใหม่ โดยจะร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการปลูกสาหร่ายทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคลป์ (Kelp) สาหร่ายสีน้ำตาลขนาดใหญ่
ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศผ่านระบบนิเวศทางทะเล หรือ Blue Carbon เป็นที่แรกในประเทศไทย ระบบนิเวศทางทะเลถือเป็นแหล่งกักเก็บและดูดซับคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลผลิตสาหร่ายที่ได้สามารถต่อยอดนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกร
ซึ่งถือเป็นต้นน้ำผู้ผลิตวัตถุดิบให้กับโรงงานของNRF ผลักดันให้เข้าสู่ระบบ Regenerative Farming ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน
จึงส่งเสริมเกษตรกรเพาะปลูกแบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในอาหารให้กับผลิตภัณฑ์ของNRF เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค ถือเป็นการลงทุนสีเขียวอีกช่องทางหนึ่งของบริษัท
ผมเชื่อว่าการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ในภาคเกษตรกรรมและอาหารจะเป็น S-curve ใหม่ของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตร และสร้างความยั่งยืนกับระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งมากยิ่งขึ้น
รวมถึงเป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Net Zero Emission หรือประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งเร็วขึ้นกว่าที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปี พ.ศ.2608” นายแดน กล่าวย้ำ
นายชรินทร์ โซนี่ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง เอ็น อาร์ เอฟ กับ อีสท์วอเตอร์ เพื่อเดินหน้าการพัฒนาโครงการนำร่องของการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
ด้วยศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารสำเร็จรูป ผนวกกับความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการน้ำของ อีสท์วอเตอร์ จะช่วยผลักดันโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ให้แก่ ทั้ง 2 บริษัท พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ชุมชนในพื้นที่ และประเทศชาติในระยะเวลาอันใกล้”
ทั้งนี้ด้วยการดำเนินงานที่ผ่านมาของอีสท์วอเตอร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการน้ำครบวงจร ทั้งการให้บริการน้ำดิบ โดยมีโครงข่ายท่อน้ำดิบที่ยาวกว่า 500 กิโลเมตร ครอบคลุม 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา
การผลิตน้ำอุตสาหกรรม ด้วยระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรมแบบศูนย์รวม (Centralized Plant) ที่ใช้เทคโนโลยี Sludge Return ที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ซึ่งสามารถผลิตน้ำอุตสาหกรรมได้สูงสุด 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำหรับผลิตและส่งจ่ายให้แก่นิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ในจังหวัดระยอง
นอกจากนี้อีสวอเตอร์ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดความยั่งยืนมาโดยตลอด จึงมุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติ
ความร่วมมือกันระหว่าง 2 ฝ่ายในครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังของ 2 ผู้นำ จากทางด้านการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน และ การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศแล้ว
คาดว่าตลาดปุ๋ยอินทรย์ทั่วโลกจะเติบโตมากกว่า 13.56% มีมูลค่าตลาดสูงถึง 197,000 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2573 สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลและชุมชนโดยรอบมากมาย
โดยการดำเนินงานในครั้งนี้มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้ง 2 บริษัท
16 กันยายน 2564
ผู้ชม 446 ครั้ง