บสย. ปลื้ม!เข้าถึงลูกค้ารายย่อยฐานรากแตะ 800,000 ราย
บสย. ปลื้ม!เข้าถึงลูกค้ารายย่อยฐานรากแตะ 800,000 ราย
บสย. ปลื้ม!เข้าถึงลูกค้ารายย่อยฐานรากแตะ 800,000 ราย
ชี้!กู้เสริมสภาพคล่องลดเหลือ90,000บ.-เดินหน้าแก้หนี้เต็มสูบ!
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) จัดงาน ECONMASS TALK EP.2 ในหัวข้อ “Smart Credit Guarantee กลไกค้ำประกันสินเชื่อ ติดปีกธุรกิจ สู่อนาคต 5G”
นำโดย นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ กลไกการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกลไกการค้ำประกันสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค 5G
นายสิทธิกร กล่าวว่า นอกเหนือจากลูกหนี้ในปัจจุบันแล้ว บสย. กำลังเข้าไปเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียตั้งแต่เริ่มดำเนินการ บสย. หรือกว่า 30 ปี ที่มีจำนวนหลายหมื่นราย ซึ่งบางรายเป็นหนี้ไม่มาก ไม่ถึงแสนบาท
แต่ไม่กล้ามาคุยกับ บสย. ทำให้มีสถานะหนี้เสียคงค้างในระบบเครดิตบูโร ส่งผลให้คนในกลุ่มนี้ไม่สามารถไปกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ บสย.จึงเปิดช่องทางให้กลุ่มลูกหนี้ดังกล่าวมาพูดคุยทางไลน์ได้ 24 ชั่วโมง
โดยลูกหนี้ในกลุ่มนี้ใช้มาตรการ “บสย.พร้อมช่วย” เข้าไปดูแลเช่น ลดดอกเบี้ยปรับให้ รวมถึงเลือกโปรแกรมการผ่อนชำระขั้นต่ำเพียง 500 บาท ต่อเดือน และสามารถเลือกผ่อนชำระร้อยละ 0 นานถึง 7 ปี และคิดค่าธรรมเนียมต่ำที่ 1.75% ในปีที่ 4 โดย 3 ปีแรกฟรี
โดยยืนยันว่าการมาพูดคุยกับบสย.ทำให้ลูกหนี้กลุ่มนี้ปลดหนี้ได้เร็ว เพราะเงินที่ผ่อนชำระจะเน้นตัดเงินต้นก่อนดอกเบี้ย และหากใครต้องการปิดหนี้ บสย.พร้อมตัดเงินต้นให้ร้อยละ 15 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับมาเป็นหนี้ปกติโดยเร็วที่สุด
"อยากให้ลูกหนี้บสย. เข้ามาสู่ระบบการปรับโครงสร้างหนี้หรือแก้หนี้ร่วมกัน โดยมาพูดคุยเพื่อเลือกมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาทั้งอัตราดอกเบี้ยและการผ่อนชำระที่ไม่เป็นภาระให้กับลูกหนี้จนเกินไป ซึ่งจะทำให้เห็นว่า บสย. สามารถเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้กับลูกหนี้ได้อย่างแน่นอน โดยไม่ต้องหันไปพึ่งหนี้นอกระบบแต่อย่างใด" นายสิทธิกร กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า
สำหรับสถานการณ์ การปล่อยสินเชื่อในกลุ่มเอสเอ็มอี มีข้อสังเกตพบว่า กลุ่มลูกหนี้ระดับไมโครมีการกู้เงินในวงเงินต่ำลง เพียง 90,000 บาทต่อราย จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 120,000-150,000 บาทต่อราย
ซึ่งแสดงให้เห็นกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น ด้วยระบบการค้ำประกันสินเชื่อจากบสย. ซึ่งจากวงเงินกู้ ที่ต่ำลงทำให้เห็นว่าผู้กู้ไม่ได้อยากได้วงเงินกู้ที่สูง
แต่อยากได้วงเงินกู้ที่เร็วเพื่อนำไปใช้เสริมสภาพคล่องรายวัน ดังนั้นหากธนาคารพาณิชย์เข้ามาให้ความสำคัญกับกลุ่มนี้ และใช้การค้ำประกันจากบสย. สามารถช่วยเหลือ กลุ่มคนตัวเล็กได้มากขึ้น ส่งผลให้จำนวนลูกค้ารายย่อยเพิ่มมากขึ้นจากก่อนโควิด-19 มีจำนวน 400,000 ราย มาเป็น 800,000 รายในปัจจุบัน
พร้อมทั้งมีมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้พิจารณาการชำระหนี้ตามความสามารถ 3 สี ทั้ง สีม่วง ที่ตัดเงินต้น 20% และตอกเบี้ย 80% มาตรการสีเหลือง ตัดเงินต้น 80% ดอกเบี้ย 20% และสีเขียว ไม่มีเงินต้นและดอกเบี้ย และหากปิดยอดหนี้ก่อนกำหนดลดเงินต้นให้อีก 15%
โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาสามารถปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท หรือช่วยลูกหนี้ให้กลับเข้าสู่ระบบปกติดได้แล้วกว่า 16,000 ราย
อีกทั้งยังมีมาตรการ Credit Scoring ตามความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ โดยหากธุรกิจเสี่ยงมากใช้อัตราดอกเบี้ย 2.5% เสี่ยงปานกลาง คิดอัตราดอกเบี้ย 1.5% และเสี่ยงน้อย คิดอัตราดอกเบีย 1% #EconmassTalkEP2
07 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 66 ครั้ง