หอการค้าไทย-จีน หนุนไทยขยายส่งออก-รุก!อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน
หอการค้าไทย-จีน หนุนไทยขยายส่งออก-รุก!อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน
หอการค้าไทย-จีน หนุนไทยขยายส่งออก-รุก!อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน
กางแผนนำทัพนักธุรกิจไทยโรดโชว์งาน CCIE ครั้งที่ 7 ปูทางตีตลาดจีน
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า ปี 2567 นี้ หอการค้าไทย-จีน ก่อตั้งครบรอบ 114 ปี ยังคงบทบาทเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมและการสร้างโอกาสเข้าสู่ตลาดจีนที่มีขนาดใหญ่กว่า 1,400 ล้านคน
และจากการที่ประเทศจีนมีนโยบายส่งเสริมการเปิดกว้างระดับที่สูงขึ้นและขยายการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคคุณภาพสูง ดังจะเห็นได้ว่าในปี 2566 ที่ผ่านมา จีนนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่า 274,650 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 1.95 ล้านล้านหยวน) ขยายตัว 1.2% จากปีก่อน
นอกจากนี้สถิติเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่ามูลค่าของการนำเข้าสินค้าทางอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนซึ่งเป็นการนำเข้าแบบขายปลีก มีมูลค่าถึง 141,770 ล้านหยวน ในปี 2566 หรือ เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ดังนั้น หอการค้าไทย-จีน จึงมีแผนงานที่จะนำผู้ประกอบการไทย-จีน ในประเทศไทย เข้าร่วมงานมหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติ ครั้งที่ 7 (หรือ CCIE ครั้งที่ 7) ซึ่งในปีนี้กำหนดที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-10 พฤศจิกายน 2567 ที่ นครเชี่ยงไฮ้
เนื่องด้วยงาน CIIE นี้เป็นมหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติเป็นแพลตฟอร์มที่มีความสำคัญมากที่จะสร้างตลาดขนาดใหญ่ของจีนให้กลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ของโลก จึงเชื่อมั่นว่าการร่วมงาน CIIE ครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้สินค้าอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักและสามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้สะดวกยิ่งขึ้น
เมื่อปีที่ผ่านมา หอการค้าไทย-จีน เป็นเจ้าภาพจัดประชุมนักธุรกิจซาวจีนโลก (หรือ WCEC) ครั้งที่ 16ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมีนักธุรกิจซาวจีนจากทั่วโลก และจากประเทศไทย ราวๆ 4,000 คน
เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย และสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย หลังการระบาดของโควิด-19 หอการค้าไทย-จีน มีโอกาสต้อนรับผู้นำจีนและคณะผู้แทนระดับสูงจากประเทศจีน หลังการจัดประชุม WCEC ครั้งที่ 16 มาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้จากการเปิดประเทศของจีน ได้มีโอกาสนำคณะผู้แทนหอการค้าไทย-จีน เดินทางไปเศึกษา ดูงานและเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม ในมณฑลต่างๆ ของจีน
เช่น เมืองเซียะเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน / เมืองชัวเถา มณฑลกวางตุ้ง / มณฑลชิงไห่ / นครเซี่ยงไฮ้/ กรุงปักกิ่ง / มณฑลหูเป่ย / มณฑลไห่หนาน/ มณฑลยูนนาน /มณฑลเจ้อเจียง /มณฑลกานซู่ เป็นต้น
การที่หอการค้าไทย-จีน มีโอกาสต้อนรับผู้นำจีนและคณะผู้แทนระดับสูงจากจีน และการนำคณะหอการค้าไทย-จีน เยือนมณฑลต่างๆ ของจีน นั้น เชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย
ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมและยังเป็นการส่งเสริมการขยายความร่วมมือและโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับมณฑลต่างๆ ของจีน
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับทิศทางหอการค้าไทย-จีน ยุคใหม่ นี้ ยังคงทำหน้าที่เป็นสายใยผูกพันความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในทุกมิติ ช่วยเผยแพร่เรื่องราวดีๆของประเทศจีน
ในขณะเดียวกันก็แนะนำสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทย ผลักดันกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีนในประเทศไทย/ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในเชิงลึกในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว
รวมถึงการแบ่งปันโอกาสในรูปแบบจีนสมัยใหม่ ส่งเสริมการสร้างโอกาสเข้าสู่ตลาดจีนที่มีขนาดใหญ่ และสนับสนุนการสร้งประชาคมไทย-จีน ที่มีอนาคตร่วมกัน เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ บนเส้นทางสายมิตรภาพเทย-จีน สืบต่อไป
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยและจีน ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2567) ขยายตัว 7.15% มีมูลค่า 17,035 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกของไทยไปจีน มีมูลค่า 4,555 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 2.01% ส่วนการนำเข้าจากจีน ขยายตัว 10.94% มีมูลค่า 12,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศไทยจึงเป็นฝ่ายชาดดุลการค้ากับประเทศจีน 7,925 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้านำเข้าจากจีนที่สำคัญๆ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
สำหรับสินค้าส่งออกของไทยไปตลาดจีน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งเม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา เป็นต้น
08 เมษายน 2567
ผู้ชม 231 ครั้ง