"ซีพีเอฟ" รับ 2 รางวัลดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิ
"ซีพีเอฟ" รับ 2 รางวัลดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิ
"ซีพีเอฟ" รับ 2 รางวัลดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิ
การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ในวันสตรีสากล
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับ 2 รางวัลดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ เนื่องในวันสตรีสากลประจำปี 2567 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โดยซีพีเอฟ ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทองค์กรเอกชน และ นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ และประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ผู้อำนวยการ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทบุคคลภาคเอกชน
ตอกย้ำความสำเร็จจากความมุ่งมั่นในการดำเนินงานบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรในการยอมรับความแตกต่าง การปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม ต่อต้านการคุกคามทุกรูปแบบตลอดวงจรชีวิตของพนักงาน
นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า รางวัลที่ได้รับสะท้อนให้เห็นว่า ซีพีเอฟเป็นองค์กรที่ตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายไม่เพียงแค่เรื่องเพศเท่านั้น แต่ยังให้การสนับสนุน ส่งเสริมการมอบโอกาส
การให้สิทธิความเสมอภาคแก่คนทุกวัย ทุกเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา และครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง เป็นพลังสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมาย จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชน
โดยกำหนดนโยบายและนำไปปฏิบัติจริงในทุกกระบวนการ ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พัฒนาศักยภาพ สร้างสรรค์พลังบวก และส่งต่อคุณค่าที่ดีแก่สังคมและองค์กรได้อย่างยั่งยืน
ด้วย ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจในหลายประเทศ ก่อให้เกิดความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรม ซึ่งซีพีเอฟมีความเชื่อที่ว่าความหลากหลายนี้เอง จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดแข็งของการบริหารงานทรัพยากรบุคคลตลอด Employee Journey
ตั้งแต่การสรรหาว่าจ้าง การอบรมพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ไปจนถึงการดูแลพนักงานหลังเกษียณ อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะหล่อหลอมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งการยอมรับความแตกต่างหลากหลายอย่างเท่าเทียม
สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร (Diversity, Equity, and Inclusion: DEI) ด้วยโครงการต่างๆ อาทิ การริเริ่มกิจกรรมที่พนักงานเข้าถึงได้โดยง่ายผ่านชมรมที่หลากหลายกว่า 19 ชมรม ตามความสนใจของพนักงาน เช่น ชมรม LGBTQ+ ชมรมครอบครัวอบอุ่น
ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่เปิดรับฟังเสียงของพนักงานช่วยให้พนักงานได้ตระหนักและมีส่วนร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมความเสมอภาคในองค์กร ทั้งยังมุ่งส่งเสริมผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
ด้วยการเปิดโอกาสให้คนพิการได้ใช้ความสามารถในการสร้างรายได้ลดภาระของครอบครัวและสังคม ส่งผลให้ ซีพีเอฟ ได้รับรางวัลองค์กรสนับสนุนคนพิการดีเด่น จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 7 ปีต่อเนื่อง
และรางวัลองค์กรต้นแบบความยั่งยืนในตลาดทุนไทย ด้านสนับสนุนคนพิการ ระดับดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ซีพีเอฟ ยังจัดจ้างแรงงานต่างด้าวให้เป็นพนักงานของบริษัทโดยตรงผ่านตัวแทนจัดหาแรงงานที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการสมัคร สรรหา คัดเลือก
รวมถึงค่าใช้จ่ายในกระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวมีความถูกต้อง โปร่งใส ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับพนักงานคนไทยทุกประการ อีกทั้งยังมีการตรวจสอบกระบวนการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม (Post-Arrival Verification)
มั่นใจได้ว่า ซีพีเอฟ มีการดำเนินกระบวนการด้วยความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ มีความโปร่งใส ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถดำเนินการแก้ไข (Corrective Actions) ในความไม่สอดคล้องอย่างทันท่วงทีหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
นอกเหนือจากการดูแลพนักงานภายในองค์กรแล้ว ซีพีเอฟ ยังตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติและสังคม ด้วยความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการต่างๆ
อาทิ โครงการยกระดับและลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทยโดยร่วมกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา หรือ CONNEXT ED เพื่อส่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้เข้าถึงการศึกษา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่มาตรฐานสากล
โครงการ “สร้างคน สร้างอนาคต สร้างเครือข่าย” โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาชั้นนำออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ผลักดันให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานจริง นำไปต่อยอดสู่การทำงานในอนาคตตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน
นอกจากรางวัลดีเด่นในประเภทองค์กรแล้ว กระทรวง พม.ยังพิจารณามอบรางวัลบุคคลภาคเอกชนดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
ให้แก่นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ในฐานะเป็นผู้บริหารหญิงที่มีบทบาทและผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความเสมอภาคและการคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของสังคม
อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลักของการจัดงาน “วันสตรีสากล ประจำปี 2567” ที่ว่า “เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจน สู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น”
11 มีนาคม 2567
ผู้ชม 530 ครั้ง