TQM จับมือ BKI เปิดตัวประกันภัย
TQM จับมือ BKI เปิดตัวประกันภัย
TQM จับมือ BKI เปิดตัวประกันภัย
คุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5
บมจ.ทีคิวเอ็ม อัลฟา โดย บจก.ทีคิวเอ็ม อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ (TQM) ร่วมกับ บมจ.กรุงเทพประกันภัย (BKI) เปิดตัวประกันภัยคุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5
เพื่อเพิ่มความคุ้มครองแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากค่าฝุ่นที่สูงเกินมาตรฐาน ด้วยกรมธรรม์คุ้มครองโรคร้ายที่มีสาเหตุมาจากการได้รับผลจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
ด้วยเงินก้อนปลอบขวัญ เพื่อเป็นค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาล กรณีที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และเงินชดเชย เงินรายวัน รวมถึงค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) เบี้ยเริ่มต้นเพียงหลักพันต่อปี คุ้มครองสูงสุดถึงหลักแสน
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (TQM) กล่าวว่า ภัยของฝุ่น PM 2.5 รุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแบบไม่รู้ตัว
จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA รายงานว่า พบค่าฝุ่น PM 2.5 ในภาพรวมของประเทศที่สูงเกินมาตรฐาน
โดยมีระดับสีแดงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่หลายจังหวัด ประกอบกับข้อมูลด้านการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2566 คนไทยป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศรวมกว่า 9 ล้าน 200,000 คน (ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
ยิ่งสะท้อนให้เห็นความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างเผชิญร่วมกัน อยู่ ด้วยค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหานี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายและอาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
รวมถึงโรคร้ายแรงต่างๆ ทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจว่าจะป้องกันและดูแลสุขภาพช่วงนี้อย่างไรให้ห่างไกลอันตรายจากการสูดดมฝุ่นละอองนี้เข้าไป
รวมถึงความกังวลในเรื่องการแบกรับค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงได้นำมาเป็นแนวคิดในการร่วมมือออกกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5
ด้าน ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI กล่าวว่า จากความห่วงใยสุขภาพของประชาชนที่กำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
รวมถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพประกันภัย และ TQM จึงร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยคุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5 นี้ขึ้นมา
โดยบริษัทได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งครอบคลุมถึงการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคตาแดง โรคเยื่อบุตาอักเสบ รวมถึงโรคร้ายแรงที่อาจเป็นผลจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น
กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5 จะช่วยคลายความกังวลใจและช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ด้วยความคุ้มครองที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เงินชดเชยรายได้รายวันสูงสุด 30 วัน
และการชดเชยด้วยเงินปลอบขวัญ (เงินก้อน) กรณีเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่น้อยกว่า 5 วัน โดยวงเงินคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับแต่ละแผนความคุ้มครองที่มีให้เลือกถึง 4 แผน
สามารถทำประกันภัยได้ตั้งแต่อายุ 6-59 ปี เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 1,400 บาทต่อปี สำหรับผู้ที่มีอายุ 60–65 ปี เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 1,700 บาทต่อปี
ด้าน ดร.นภัสนันท์ พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (TQM) กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาการรักษากลุ่มโรคที่อาจจะมีสาเหตุจากฝุ่น PM 2.5 นั้น สามารถใช้ประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทุกโรคได้ แต่เนื่องด้วยประกันสุขภาพมีเบี้ยประกันภัยค่อนข้างสูง
การมีกรมธรรม์ระบุโรคที่เกิดจากความเสี่ยง แบบเฉพาะ เช่น ความคุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5 เช่นนี้ จะทำให้เบี้ยประกันภัยถูกลง จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ความร่วมมือกับ BKI ยังสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และเน้นความคุ้มครองโรคที่น่าจะเกิดจากผลของฝุ่น PM 2.5 ปัจจุบันแม้ภัยของฝุ่น PM 2.5 จะเหมือนเป็นภัยเงียบ
แต่จริงๆ แล้วส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5
บริษัทจึงได้หารือร่วมกับ BKI เพื่อออกแบบกรมธรรม์ ประกันภัยที่เหมาะสมกับลูกค้าทุกกลุ่ม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองและ พร้อมช่วยคลายความกังวลในการแบกรับค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากมลพิษทางอากาศ PM 2.5
ด้วยกรมธรรม์ที่มีรูปแบบความคุ้มครองที่หลากหลาย เข้าถึงง่าย โดยสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยทางออนไลน์และออฟไลน์ ได้ที่ www.tqm.co.th, Application TQM24 หรือโทรสายด่วน 1737 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
22 กุมภาพันธ์ 2567
ผู้ชม 689 ครั้ง