สมาคมประกันวินาศภัยไทย จับมือ กรมส่งเสริมการเกษตร ไทยคม
สมาคมประกันวินาศภัยไทย จับมือ กรมส่งเสริมการเกษตร ไทยคม
สมาคมประกันวินาศภัยไทย จับมือ กรมส่งเสริมการเกษตร ไทยคม
นำระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ช่วยเกษตรกรประกันภัยพืชผลไทย
สมาคมประกันวินาศภัยไทย ผนึกกำลังร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย ด้วยการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ ในการประกันภัยพืชผล
พร้อมยกระดับมาตรฐานการประกันภัยด้านการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีอวกาศให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนาม ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือ ของกรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมประกันวินาศภัยไทย และไทยคม ทั้ง 3 หน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาการนำ ระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการประกันภัยพืชผล
ด้วยการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth Observation Satellite) ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics System) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence/Machine Learning)
มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ข้อมูลแปลงเกษตรกร พันธุ์ข้าว พื้นที่ประสบภัยพิบัติ และอื่นๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย พิบัติให้ได้รับเงินสินไหมทดแทนได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรลดลง
อีกทั้งยังช่วยให้ภาครัฐ มีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำใช้ในการวางแผนรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันถ่วงที และช่วยลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนช่วยให้ภาครัฐบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการ บูรณาการความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และงานวิจัย
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสามหน่วยงานให้มีความรู้ความสามารถ อันจะ นำไปสู่การช่วยขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศก้าวหน้าต่อไปได้ในอนาคต
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร วางแนวทางการ ขับเคลื่อนภารกิจในปี 2567 โดยเน้นขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ สร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูง (High Value) ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
ทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low Carbon) และเพิ่มพื้นที่สี เขียวในภาคการเกษตรรวมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และขับเคลื่อน BCG Model รวมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital DOAE) เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล ทั้ง ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ถือเป็นหน่วยงานหลักในการรับขึ้นทะเบียน เกษตรกร รับแจ้งข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินความเสียหายในแปลงของ เกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ และการดำเนินการด้านอื่นๆ
เช่น วางแผนช่วยเหลือและพัฒนาการเกษตรและเกษตรกร ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายภายหลังเกิดภัยแล้ว
พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและสมาคมประกันวินาศภัยไทยไปใช้ประกอบการ พิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับเกษตรกรที่ทำประกันภัยไว้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นจึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และ สมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อนำความรู้ และความเชี่ยวชาญ สร้างความร่วมมือทาง วิชาการ
ร่วมกันบูรณาการและพัฒนาแนวทางการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการประกันภัย พืชผล ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น และโอกาสที่ดีที่จะร่วมกัน ในการพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลอย่างยั่งยืน มีความถูก ต้อง แม่นยำ
โดยการนำเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาวิเคราะห์ร่วมกับ ข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้การประกันภัยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบริหาร
จัดการความเสี่ยงในการทำการเกษตร และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและประชาชน และเป็นการยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยความมั่นคง เพราะภาคเกษตรกรรมเป็นรากฐานที่ สำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า สมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นองค์กร ที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการนำระบบประกันภัยมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับภาครัฐ และเกษตรกร โดยเฉพาะโครงการประกันภัยพืชผล
ซึ่งเป็นโครงการที่ธุรกิจประกันวินาศภัยมีเจตนารมณ์มุ่งมั่นใน การทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารความเสี่ยง ให้กับภาคการเกษตรของไทย เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจจะ เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพมากยิ่งขึ้น โดยสมาคม ฯ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการประกันภัยพืชผลให้กับภาครัฐในโครงการประกันภัยข้าวนาปี และโครงการ ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลารวมกว่า 12 ปี ซึ่งมีภาพรวมของผล การดำเนินงานในการรับประกันภัยครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 210 ล้านไร่ และมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนกว่า 15,066 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. โครงการประกันภัยข้าวนาปีตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2565 มีพื้นที่รับประกันภัย จำนวน 203.7 ล้านไร่ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จำนวน 14,611 ล้านบาท
2. โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2552 จนถึง ปี 2566 มีพื้นที่รับประกันภัย จำนวน 5.5 ล้านไร่ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จำนวน 455 ล้านบาท
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้มีการพัฒนาโครงการประกันภัยพืชผล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ ขับเคลื่อนโครงการประกันภัยพืชผลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบโจทย์การดำเนินงานให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงเกษตรกร ผู้เอาประกันภัยให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อให้การประกันภัยพืชผลของไทยเกิดความยั่งยืน ดังนี้
1. พัฒนาเทคโนโลยีในการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการรับประกันภัย การขึ้นทะเบียนเกษตรกร และการรายงานความเสียหาย ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กับ สมาคมฯ เพื่อให้มีการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับเกษตรกรได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. พัฒนาระบบการรายงานความเสียหายด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ที่ได้รับ ความเสียหายโดยมิได้อยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ผ่านแอป พลิเคชัน “มะลิซ้อน”
เพื่อให้เกษตรกรผู้เอาประกันภัยสามารถใช้แอปพลิเคชันนี้รายงานความเสียหายด้วย โทรศัพท์มือถือ ต่อยอดการเป็น Smart Farmer ซึ่งจะช่วยให้การประกอบอาชีพการเกษตรในประเทศไทยมีความยั่งยืนต่อไป
3. การนำเทคโนโลยีดาวเทียม ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และระบบ AI & Machine Learning มาใช้ในการประกันภัยพืชผล โดยร่วมกับบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในการวิเคราะห์ ข้อมูลและตรวจสอบความเสียหายเพื่อดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในโครงการประกันภัยพืชผลต่อไป
ซึ่งได้ เริ่มนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช ร้อยเอ็ด และ สุโขทัย โดยผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวนั้นสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางที่ใช้ในการพัฒนา ต่อยอด และขยายผลในการดำเนินงานเพิ่มเติมในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไป
ซึ่งจะมีการดำเนินงานขยายพื้นที่การ ทดสอบ จากเดิม 6 จังหวัด จำนวน 3 ล้านไร่ เป็น 16 จังหวัด จำนวน 13 ล้านไร่ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการ สำรวจความเสียหายให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวของ สมาคมฯ ในการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการประกันภัยพืชผลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประสบภัย ที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อผลักดันการนำเทคโนโลยีมาใช้ประเมินความเสียหายทั่วประเทศต่อไป
นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า ไทยคมมีเจตนารมณ์สำคัญในการ ดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ควบคู่ไปกับการช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เกิดความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาโซลูชัน ที่ได้ข้อมูล Big Data จากอวกาศ
มาวิเคราะห์ร่วมกับ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) เพื่อ นำไปใช้วางแผนในการบริหารจัดการให้กับประเทศในหลายมิติ โดยเฉพาะภาคการเกษตรไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ ของประเทศ
ดังนั้นการผนึกกำลังกับกรมส่งเสริมการเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย จึงเป็นการตอกย้ำ พันธกิจของไทยคม ที่ได้นำความเชี่ยวชาญในธุรกิจดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ มาต่อยอดให้เกิดเป็นแพลตฟอร์ม ในการประกันภัยพืชผล เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้
04 กุมภาพันธ์ 2567
ผู้ชม 62 ครั้ง