SCB WEALTH หนุนลงทุนรับแผนการออมฝสิทธิประโยชน์ทางภาษีโค้งสุดท้าย
SCB WEALTH หนุนลงทุนรับแผนการออมฝสิทธิประโยชน์ทางภาษีโค้งสุดท้าย
SCB WEALTH หนุนลงทุนรับแผนการออมฝสิทธิประโยชน์ทางภาษีโค้งสุดท้าย
แนะกระจายพอร์ตลงทุนทั้งหุ้นไทยและสหรัฐฯ โอกาสสร้างผลตอบแทนในปี 67
SCB WEALTH หนุนนักลงทุนเร่งลงทุนในกองทุน RMF-SSF และ Thai ESG เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในสัปดาห์สุดท้ายส่งท้ายปี แนะกระจายพอร์ตลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
มองตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีปัจจัยบวกสนับสนุนเดินหน้าสร้างผลตอบแทนต่อเนื่องได้ ตลาดคาดปี 67 Fed มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยได้มากกว่า 3 ครั้ง ส่งผลบอนด์ยิล ลดลงอย่างรวดเร็ว หนุนบริษัทจดทะเบียนสร้างผลกำไรดีขึ้น
คาดว่าเม็ดเงินจาก money market ไหลกลับเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และสถิติทุกครั้งที่ Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้น S&P500 จะทำผลงานได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว
ส่วนตลาดหุ้นไทย มีมูลค่าหุ้นค่อนข้างถูกมากอยู่ระหว่างรอเงินลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะไหลกลับเข้ามา จากปัจจัยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และไทย ที่เริ่มแคบลง คาดว่าเงินลงทุนจะไหลกลับเข้ามาทั้งในตลาดหุ้น และตราสารหนี้ ในปี 67
นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA SCB Wealth Chief Investment Officer ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Investment Office and Product Function กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายสำหรับการลงทุนในกองทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ในปี 2566
ขอแนะนำนักลงทุนที่มีรายได้ ต้องเสียภาษี ให้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) และกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) ตามสิทธิที่มี
เพื่อลดหย่อนภาษีตามฐานภาษีของแต่ละบุคคล ฐานภาษีขอแต่ละบุคคล ทั้งยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อลงทุนครบตามกำหนดเงื่อนไข ซึ่งการลงทุนในกองทุนดังกล่าวเป็นการสร้างวินัยการออม เพื่อสร้างฐานะทางการเงินที่มั่นคง และมั่งคั่งในอนาคต หรือในวัยเกษียณ
“การลงทุนควรมีการกระจายความเสี่ยงในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น กองทุน RMF และ SSF สามารถเลือกลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ ส่วน ThaiESG ลงทุนเฉพาะหุ้นและตราสารหนี้ไทยที่เข้าเกณฑ์ ESG เพื่อให้พอร์ตลงทุนมีเสถียรภาพ และลดความผันผวนได้
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าหุ้นค่อนข้างถูกมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่กำลังอยู่ระหว่างรอเงินลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะไหลกลับเข้ามา
จากปัจจัยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และไทย ที่เริ่มแคบลง ที่ทำให้ค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยคาดว่าจะส่งผลให้เงินลงทุนจะไหลกลับเข้ามาทั้งในตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้นในปี 2567
ส่วนตลาดต่างประเทศ ที่เหมาะสำหรับการลงทุนใน RMF-SSF ในช่วงเวลานี้ ได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีปัจจัยบวกสนับสนุนหลายประการ ประเด็นหลัก ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่หยุดขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มจะปรับลดลงในปี 2567
โดย Fed Dot Plot คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะปรับลดประมาณ 3 ครั้งในปีหน้า ขณะที่ตลาดคาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้ง ส่งผลสะท้อนทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (bond yield) ของสหรัฐฯ ลดลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้ความสามารถในการสร้างผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ดีขึ้น จะได้เห็นการปรับเพิ่มประมาณการผลประกอบการของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดขึ้นต่อเนื่อง
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (soft landing) โดยพิจารณาเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ พบว่า ภาคบริการ และการจ้างงาน ยังมีตัวเลขที่ออกมาดูดี เป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจ แม้ว่าภาคการผลิตจะหดตัวก็ตาม
ในส่วนของเม็ดเงินลงทุนปัจจุบันพบว่านักลงทุนรายย่อย ยังลงทุนอยู่ในตลาดเงิน (money market) ค่อนข้างมาก ขณะที่นักลงทุนสถาบันเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งโดยปกติการเคลื่อนย้ายเงินทุนของรายย่อยจะช้ากว่านักลงทุนสถาบัน
ดังนั้นถ้าตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น เงินเฟ้อทยอยปรับเข้าสู่กรอบนโยบาย เชื่อว่าจะมีเม็ดเงินของนักลงทุนรายย่อยจาก money market ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นสหรัฐฯเพิ่มเติมได้
และเมื่อพิจารณาข้อมูลในอดีตจะเห็นว่าว่า ทุกครั้งที่ Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ในช่วง 12 เดือนหลังจากนั้น หุ้นสหรัฐฯ นำโดยตลาดหุ้น S&P500 จะทำผลงานได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่ควรระมัดระวัง คือ ประเด็นการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมีในช่วงปลายปี 2567 เนื่องจากทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง จะมีเรื่องนโยบายที่ต้องจับตามอง ในกรณีที่พรรครีพับลิกันได้ชัยชนะ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้คะแนนเสียงมากขึ้น
ภาพนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ อาจจะเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน เป็นในลักษณะAggressive มากขึ้น เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นช่วงที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ รวมทั้งเราอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายด้าน ESG ด้วย
ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยที่ตลาดต้องระมัดระวังความผันผวนที่จะเกิดตามมา ขณะเดียวกันก็ต้องจับตา การเลือกตั้งในพื้นที่อื่น เช่น ไต้หวัน ที่ต้องติดตามเกี่ยวกับท่าทีของสหรัฐฯ ที่อาจทำให้เกิดความผันผวนตามมาได้
สำหรับกองทุนที่แนะนำ ประเภท RMF และ SSF ในส่วนของกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ได้แก่ SCBRMS&P500 ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 หรือเสี่ยงสูง และ SCBS&P500-SSF ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายลงทุนหุ้นสหรัฐฯ หลากหลายกลุ่มธุรกิจ
ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนดัชนีที่ลงทุนใน 500 บริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ อ้างอิงดัชนี S&P 500 กองทุน SCBRMNDQ(A) ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 และกองทุน SCBNDQ–SSF ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 ที่ลงทุนผ่านกองทุนดัชนีหุ้น100บริษัทในสหรัฐฯ โดยอ้างอิงดัชนี NASDAQ 100 ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ส่วนกองทุน RMF สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายพอร์ตบางส่วนลงทุนในหุ้นไทย แนะนำกองทุน SCBRM4 ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 ลงทุนในหุ้นไทยปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง
และกองทุน SSF แนะนำ SCBLT1-SSF ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพ 30% และลงทุนในหุ้นไทย ที่มีนโยบายปันผลสม่ำเสมอ 70%
ทางด้านกองทุน Thai ESG แนะนำ SCBTM ที่มีความเสี่ยงระดับ 5 คือเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง เป็นกองทุนผสม ที่ลงทุนในหุ้น และตราสารหนี้ไทยที่ยั่งยืนแบบยืดหยุ่นตามจังหวะของตลาด
สำหรับเงื่อนไขการลงทุน RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ได้แก่
กองทุน SSF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
โดยต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ไม่ขายคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม ลงทุนปีไหนได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีนั้น
ส่วนกองทุน SSF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับ กองทุน RMF, PVD, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ,
กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ กอช. จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ไม่มียอดซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องถือครอง 10 ปี นับจากวันซื้อ (แบบวันชนวัน)
นอกจากนี้ กองทุน ThaiESG สามารถนำยอดซื้อลงทุน ไปหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่นับรวมกับวงเงิน 500,000 บาท จากกองทุนการออมเพื่อการเกษียณ
ทั้ง กองทุน SSF, RMF, PVD, กบข., ประกันชีวิตแบบนำนาญ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ กอช. ไม่มียอดซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องทุกปี โดยต้องถือครอง 8 ปี แบบจากวันที่ซื้อ
24 ธันวาคม 2566
ผู้ชม 121 ครั้ง