"เจ้าสัว" ยื่นไฟลิ่งขายIPO ไม่เกิน87.7ล้านหุ้น
"เจ้าสัว" ยื่นไฟลิ่งขายIPO ไม่เกิน87.7ล้านหุ้น
"เจ้าสัว" ยื่นไฟลิ่งขายIPO ไม่เกิน87.7ล้านหุ้น
เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
"บมจ. เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี" หรือ CHAO หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ ภายใต้แบรนด์ “เจ้าสัว” และแบรนด์ “โฮลซัม (Wholesome)” ยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
เพื่อเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ชูประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมากว่า 65 ปี มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีความอร่อย ให้คุณค่าทางโภชนาการ
ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวสู่ Modern Thai Snack เติมเต็มความสุขและตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน พร้อมแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นางสาวณภัทร โมรินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ CHAO เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ ภายใต้แบรนด์ “เจ้าสัว” และแบรนด์ “โฮลซัม (Wholesome)” ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมายาวนานกว่า 65 ปี
ภายใต้วิสัยทัศน์ "นำสูตรลับความอร่อยตำรับเจ้าสัวสู่คุณ" เพื่อเติมเต็มความสุขในทุกวัน โดยมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ รสชาติอรอ่ย และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ด้วยกรรมวิธีการปรุงอย่างพิถีพิถัน ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต
เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ทำให้อายุอาหารอยู่ได้ยาวนานขึ้น พร้อมพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย พกพาง่าย สามารถรับประทานได้ทุกวัน (Everyday Consumption) สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในทุกโอกาส
ทั้งนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.ขนมขบเคี้ยว (Snack) ซึ่งประสบความสำเร็จในการทำการตลาดจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งการยกระดับวัตถุดิบในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในด้านความหลากหลายของรสชาติและรูปแบบของผลิตภัณฑ์
ส่งผลให้กลุ่มบริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจการผลิตและการจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวไทยรูปแบบใหม่ (Modern Thai Snack) เช่น ข้าวตัง ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู แครกเกอร์ธัญพืช หนังปลา และขนมขบเคี้ยวอื่นๆ เป็นต้น
และ 2.ผลิตภัณฑ์อาหาร (Meal) ซึ่งประกอบด้วย อาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook) เช่น กุนเชียง หมูยอ ไส้กรอกอีสาน และแหนม เป็นต้น และอาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) เช่น หมูหยอง หมูสวรรค์ หมูนุ่มเส้น หมูเส้นฝอย และหมูทุบ เป็นต้น
ในปัจจุบัน กลุ่มบริษัท จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มร้านค้าปลีกและค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) กลุ่มร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Traditional Trade) การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ และช่องทางอื่นๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี กล่าวต่อไปว่า บริษัท ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักเพื่อปรับภาพลักษณ์สินค้าไปสู่แบรนด์ขนมขบเคี้ยวที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน
ผ่านแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) ที่มีภาพลักษณ์เหมาะสมและสะท้อนถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มครอบครัว วัยรุ่น คนทำงานและผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ และแผนการสื่อสารการตลาดแบบ 360 องศา ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์มาอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้กลุ่มบริษัทได้รับรางวัล Superbrands Thailand ประจำปี 2565 และ 2566 ติดต่อกัน 2 ปี ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่แบรนด์สินค้าที่มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด
นอกจากนี้ เจ้าสัว ยังได้รับรางวัล “2023 Thailand's Most Admired Brand” จาก BrandAge โดยเป็นแบรนด์อันดับ 1 ของหมวดขนมขบเคี้ยวไทย (Thai Snack) ที่น่าเชื่อถือที่สุด
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท ยังได้รับตรา “Thailand Trust Mark” ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพมาตรฐานสากล สร้างความน่าเชื่อถือ ภายใต้แนวคิด “Trusted Quality” ให้ทั่วโลกไว้วางใจในสินค้าและบริการครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่
(1) มีมาตรฐานสินค้าเชื่อถือได้ระดับสากล (2) ได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (Fair Labor) และ (3) มีมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และ (4) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบโดยกระทรวงพาณิชย์
“เจ้าสัว ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์การบริโภคของกลุ่มลูกค้า ผ่านการสร้างความหลากหลายให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ ทั้งประเภทสินค้า รูปแบบ และรสชาติความอร่อยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากสูตรลับฉบับเจ้าสัว
โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์การรับประทานอาหาร ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน” นางสาวณภัทร กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า
ล่าสุดบริษัทได้แต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 87,684,100 หุ้น คิดเป็นร้อยละไม่เกิน 29.2 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท
ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ แบ่งเป็น (1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 46,944,100 หุ้น และ (2) หุ้นสามัญเดิม จำนวนไม่เกิน 40,740,000 หุ้น
โดยบริษัทมีแผนนำเงินที่ได้จากการระดมทุนส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ
07 ธันวาคม 2566
ผู้ชม 98 ครั้ง