"เคทีซี" แนะ 6 ข้อปกป้องสมาชิก
"เคทีซี" แนะ 6 ข้อปกป้องสมาชิก
"เคทีซี" แนะ 6 ข้อปกป้องสมาชิก
จากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ก่อนทำธุรกรรม
เคทีซี ตอกย้ำจุดยืนความปลอดภัยของสมาชิกเป็นสำคัญ พร้อมพัฒนาระบบป้องกันภัยทุจริต อย่างต่อเนื่องและติดตามข้อมูลการใช้จ่ายหากผิดปกติแจ้งสมาชิกทันทีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพบนออนไลน์ พร้อมแนะนำ 6 ข้อต้องรู้ก่อนทำธุรกรรม
นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลโกงมิจฉาชีพที่หลอกดูดเงินได้ปรับเปลี่ยนวิธีการตลอด มีทั้งการหลอกให้โอนเงินหรือสวมสิทธิ์ในแอปพลิเคชัน
เพื่อหลอกดูดเงินจากบัตรเครดิตทำให้ยังมีผู้ตกเป็นเหยื่อโดยไม่ทันระวัง ถึงแม้เทคโนโลยีการเงินในปัจจุบันจะพัฒนาระบบให้สอดรับกับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการทำธุรกรรม
“ลักษณะมิจฉาชีพที่ติดต่อเข้ามามีหลายช่องทาง ทั้งสร้างเรื่องให้มีความกลัว เช่นหลอกว่าเราได้รับของผิดกฎหมายหรือของค้างอยู่ที่กรมศุลกากร ถ้ามีลักษณะที่ต้องสงสัยว่าไปทำอะไรผิดมา แต่ไม่ได้ทำก็อย่าหลงเชื่อ
หรือ การหลอกโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้อยู่ ต้องมีการใส่รหัสผ่านที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือ OTP (One Time Password) ถ้าไม่ทันระวังให้รหัสไป มิจฉาชีพก็จะนำไปใช้ได้” นายไรวินทร์ กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า
เคทีซี ในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตที่ดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าเป็นสำคัญและมีทีมงานที่ดูแลตรวจสอบการใช้จ่ายของสมาชิก
เมื่อพบสิ่งผิดปกติ จะรีบติดต่อสมาชิกผู้ถือบัตรทันทีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงที พร้อมแนะนำ 6 วิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ดังนี้
-
ตั้งสติและอย่าหลงเชื่อข้อมูลตามที่มิจฉาชีพแจ้ง
-
ไม่กดลิงค์ต่างๆ ที่ได้รับโดยไม่รู้จักแหล่งที่มา
-
กำหนดรหัสผ่าน (Password) ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการเงินให้มีความหลากหลาย อย่าใช้รหัสซ้ำเพื่อป้องกันการคาดเดาและนำไปใช้ต่อจากผู้ไม่หวังดี
-
ไม่แจ้งรหัสผ่าน และ OTP ให้ผู้อื่นทราบอย่างเด็ดขาด และ ต้องอ่านข้อความให้ชัดเจนทุกครั้งเมื่อได้รับ OTP เช่น การระบุชื่อร้านค้าต้องถูกต้อง รายละเอียดสินค้าต้องตรงกับที่สมาชิกซื้อ เพื่อการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง
- หากพบข้อสงสัยว่าจะถูกมิจฉาชีพหลอกข้อมูล ควรโทรศัพท์หรือติดต่อสอบถามหน่วยงานที่ถูกอ้างอิง
- โหลดแอปพลิเคชันที่ช่วยระบุหมายเลขที่ไม่รู้จัก เช่น Whoscall เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ
หากพบข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ
28 กันยายน 2566
ผู้ชม 167 ครั้ง