กสิกรไทย ชวนอาเซียนผลักดัน ASEAN Taxonomy
กสิกรไทย ชวนอาเซียนผลักดัน ASEAN Taxonomy
กสิกรไทย ชวนอาเซียนผลักดัน ASEAN Taxonomy
สร้างมาตรฐานการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน
กสิกรไทย เป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย ร่วมการประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council Summit Week) เมื่อต้นเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
และร่วมการเสวนาหัวข้อ Decarbonizing Southeast Asia: Charting ASEAN’s Pathway to a Net-Zero Future แลกเปลี่ยนมุมมอง บทบาท แนวคิดของภาคเอกชน
ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแรงขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) พร้อมเชิญชวนกลุ่มประเทศอาเซียน
จับมือกันทำเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Decarbonization ให้เป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค สร้างมาตรฐานร่วมกัน ผลักดันการเกิด ASEAN Taxonomy
นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย เป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย เข้าร่วมงานสัปดาห์การประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
โดยภายในงานมีกิจกรรม การประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน (ASEAN Business and Investment Summit หรือ ABIS 2023) ที่จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “ASEAN Centrality: Innovating Towards Greater Inclusivity”
มีตัวแทนทั้งจากภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ ผู้นำ และผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจทั่วโลกกว่า 2,000 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้ผู้นำธุรกิจได้มีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับผู้กำหนดนโยบาย
นอกจากนี้ธนาคารยังได้เข้าร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ Decarbonizing Southeast Asia: Charting ASEAN’s Pathway to a Net-Zero Future เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง บทบาท แนวคิดของภาคเอกชน
ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแรงขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) รวมถึงแนวทางการกำหนดนโยบายต่างๆ ด้านการธนาคาร
ที่จะผลักดันให้ธนาคารและลูกค้าทุกภาคส่วน คำนึงถึงการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยแสดงมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศ หรือ Decarbonization ในกลุ่มประเทศอาเซียน
ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละประเทศในการปรับตัว ทั้งด้านการเงิน ความสามารถทางเทคโนโลยี และองค์ความรู้ ประเทศที่มีความพร้อม เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศจีน จะเป็นผู้กำหนดแนวทางและกฎเกณฑ์ในระบบเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ในกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนมากเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีความพร้อมที่แตกต่างกัน แต่ยังพึ่งพากันได้ดีผ่านการค้าและการลงทุน ด้วยมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN intra-trade) ที่มีสัดส่วนสูงถึง 23%
ภายใต้บริบทดังกล่าว กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถหาโอกาสใหม่ๆ ร่วมกัน โดยการสร้างความร่วมมือเพื่อทำให้ Decarbonization เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในระดับภูมิภาค (Regional Progressive Dialogue) และสอดรับกับพลวัติการค้าการลงทุนที่เกิดขึ้น
โดยการสร้างมาตรฐานการทำงานด้าน Decarbonization เดียวกัน ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Hard Infrastructure) ที่แต่ละประเทศสามารถเติมเต็มแหล่งทรัพยากรซึ่งกันและกันได้
และโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน (Soft Infrastructure) เช่น การกำหนดให้มี ASEAN Taxonomy ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องของ Decarbonization ในกลุ่มประเทศอาเซียนแล้วจะสามารถทำให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในระดับเวทีโลกเช่นกัน
ทั้งนี้สถานการณ์ปัจจุบันของภาคธุรกิจในอาเซียน เรื่องการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ (Large Corporates) มีความสามารถในการปรับตัว และปฏิบัติตามกติกาในระดับนานาชาติได้อย่างทันท่วงที
ด้วยความพร้อมด้านทรัพยากร เทคโนโลยี เงินทุน และความรู้ ขณะที่กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ยังไม่สามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ต้องมีการช่วยเหลือจากรัฐบาลและธนาคาร หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multi Development Banks) เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเอาตัวรอดได้
สุดท้ายในส่วนของกลุ่มลูกค้ารายย่อย ก็ต้องมีการผลักดันให้เกิดการตระหนักรู้ และสร้างแนวคิดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดระบบคุณค่าใหม่ (New Value System) ที่จะคอยผลักดันให้เอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
นายพิพิธ กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งเสริมการสร้างมาตรฐานร่วมกันด้าน Decarbonization ในภูมิภาคเศรษฐกิจอาเซียน ถือเป็นการตอกย้ำแนวคิดการทำงานตามหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ของธนาคารกสิกรไทย
ที่พร้อมจะก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยธนาคารจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและผลักดันลูกค้า ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม
หรือ Decarbonization ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ธนาคารกสิกรไทยมีที่ตั้งอยู่ เพื่อให้เป็นตามนโยบายเป้าหมาย Net Zero Commitment ของแต่ละประเทศต่อไปในอนาคต
17 กันยายน 2566
ผู้ชม 276 ครั้ง