Social Participation หันหาสังคม
Social Participation หันหาสังคม
Social Participation หันหาสังคม
จุดไฟในตัวให้ลุกโชน!หนีภาวะ"เบิร์นเอ้าท์"
Burnout Syndrome “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” โรคยอดฮิตของหนุ่มสาวออฟฟิศในยุค Now Normal อันมีสาเหตุหลักมาจากความเครียดในสถานที่ทำงาน สังเกตุอาการง่ายๆ คือ เหนื่อยล้า หมดพลังกายและใจ หมดความเชื่อมั่นในตนเอง และประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง
วิธีแก้มีหลากหลายแนวทาง ทั้ง "ยอมรับในความแตกต่าง" "อย่าหักโหมงาน" "อย่าเอางานกลับบ้าน" "พักผ่อนให้เพียงพอ" วันนี้ GEN HEALTHY LIFE ขอนำเสนออีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยจุดไฟในตัวคุณให้ลุกโชนพร้อมเติมพลังบวกอีกครั้ง
การมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ย่อมควบคู่ไปกับการมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งเป็นความสุขอย่างสมบูรณ์แบบที่ทุกคนต่างปรารถนา การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้างจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตให้มีความบาลานซ์
ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพลังบวกให้มีสุขภาพจิตที่แจ่มใสขึ้นในทุกวัน คือ การหันเข้าสังคม หรือ "การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม" (Social Participation) จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยคลายเครียด
ซึ่งจากผลสำรวจประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ พบว่า 47% ต้องการบรรเทาความเหงาและความโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้น อีก 39% เพื่อช่วยบำบัดรักษาสุขภาพทางจิตให้แจ่มใส ไม่เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการของโรคซึมเศร้า
หรือเกิดภาวะเบื่อหน่ายจนทำให้มีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับ “กิจกรรมการเข้าสังคม” มีหลากหลายอย่างให้เลือกทำ เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดที่กำลังเผชิญ
เช่น กิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน อาทิ ไปแคมป์ปิ้ง, ไปหาร้านอร่อยสังสรรค์, เช็คอินคาเฟ่ชิคๆ, จ็อกกิงในสวนสาธารณะ, ดูหนัง-ฟังเพลง, เล่นกีฬา ต่อมา กิจกรรมกับที่ทำงาน อาทิ จับกลุ่มร้องเพลงเล่นดนตรีหลังเลิกงาน, ทานข้าวกลางวันด้วยกัน, ตั้งวงเล่นบอร์ดเกม, แลกเปลี่ยนหนัง-ซีรีส์ในเวลาว่าง
สุดท้าย กิจกรรมนันทนาการกับชุมชน อาทิ ร่วมเต้นแอโรบิคภายในชุมชน, เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่ว่าจะเป็น ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ต่างๆ , เรียนรู้งานศิลปหัตถกรรม–งานฝีมือภายในชุมชน, เป็นต้น
อย่าลืมว่าการรักษาสภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือแม้แต่เกิดอาการเบื่อหน่ายกับทุกสิ่งบนโลกใบนี้ หากเกิดขึ้นแล้วต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู และมีการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนในรูปแบบการดูแลสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ
แต่หากทำทุกวิธีแล้วยังไม่สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติที่ควรจะเป็นได้ หรือมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต เพื่อรับคำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม
สำหรับใครที่ต้องการเคล็ดลับการมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง สามารถติดตามบทความดีๆ ได้ที่ Gen Healthy Life เพราะมีเรื่องราวดีๆ มาเสิร์ฟให้อ่านตลอดเวลา
12 กรกฎาคม 2566
ผู้ชม 383 ครั้ง