สถิติ

71398041

"Thailand Focus 2022ไ โชว์ศักยภาพบริษัทจดทะเบียนไทยยุคใหม่    

   "Thailand Focus 2022ไ โชว์ศักยภาพบริษัทจดทะเบียนไทยยุคใหม่

   ตอกย้ำ!นักลงทุนเมินประเด็นการเมือง-ชี้!เศรษฐกิจฟื้นจีดีพีแตะ3.5%    

 

   ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดงาน “Thailand Focus 2022 : THE NEW HOPE” ตอกย้ำศักยภาพและชี้แนวทางขับเคลื่อนของตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อภายใต้บริบทใหม่ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

   พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงแวดวงเศรษฐกิจ ร่วมสร้างความเชื่อมั่นถึงความพร้อมของไทย ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ประเทศ สู่การขับเคลื่อนอย่างบูรณาการโดยภาคตลาดเงินตลาดทุน

   และการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจและเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) 124 บริษัท

   ร่วมให้ข้อมูลกับผู้ลงทุนสถาบัน 161 ราย จาก 76 สถาบันทั่วโลก สะท้อนการที่ผู้ลงทุนเห็นโอกาสและยังเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย

   นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการจัดงาน Thailand Focus 2022 ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 16 ภายใต้แนวคิดTHE NEW HOPE” ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนถึงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

   ที่สนับสนุนการฟื้นตัวและมุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในปาฐกถาพิเศษ Thailand's Economic Reopening and Enhancing Competitive Advantage”

   โดยให้ข้อมูลถึงการบริโภคของภาคเอกชนและการส่งออกว่ายังอยู่ในทิศทางที่ดีแม้ว่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและรายได้ในภาคการเกษตร

   ขณะที่ภาครัฐได้มีโครงการที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนเป็นระยะๆ พื้นฐานของประเทศก็ยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังให้ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยพร้อมที่จะเติบโตทั้งในระยะกลางและระยะยาว โดยภาครัฐมีโครงการที่ช่วยกระตุ้นและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

   ขณะเดียวกันนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังให้ความเชื่อมั่นด้านการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตที่จะปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ (gradual & measured)

   นอกจากนี้ในการเสวนาตัวแทนภาครัฐ ภาคธุรกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน ยังร่วมนำเสนอจุดแข็งของประเทศไทย รวมถึงความสามารถและศักยภาพของภาคเอกชนไทยที่สอดรับกับบริบทใหม่ในอนาคต

   “Thailand Focus 2022 : THE NEW HOPE เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สื่อสารความน่าสนใจของประเทศไทย และเชื่อมโยงโอกาสการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลก

   โดยงานปีนี้จัดงานในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้ลงทุนสถาบันที่เดินทางมาร่วมงานในประเทศไทยและที่รับฟังข้อมูลผ่าน virtual conference เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงผู้ลงทุนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนได้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่

   ขณะเดียวกันยังตอบสนองความต้องการพบปะแบบส่วนตัวได้ โดยมีผู้ลงทุนจากกลุ่มประเทศหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สวีเดน

   โดยผู้ลงทุนสถาบันให้ความสนใจในอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเป็นหัวหอกขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของภาครัฐทั้งระยะสั้นและระยะยาวนายภากร กล่าวย้ำและเพิ่มเติมว่า

   นอกจากงานนี้ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการจัดกิจกรรม “Digital Roadshow” สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งนำเสนอผ่านระบบ VDO Conference เพื่อให้ผู้ลงทุนต่างชาติได้ติดตามข้อมูลผลประกอบการ บจ. ไทยและมุมมองผู้บริหารต่อทิศทางธุรกิจในแต่ละไตรมาส

             

   ดร.ภากร กล่าวเพิ่มเติมว่า Thailand Focus 2022 ถือเป็นงานสำคัญประจำปีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนทั่วโลกได้ กลับมาสู่การจัดแบบปกติอีกครั้ง หลังจาก 2 ปีที่ได้จัดทางออนไลน์ในช่วงการสถานการณ์โรคระบาดโรคโควิด-19

   สำหรับงานในปีนี้กลับมาด้วยแนวคิด New Hope เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยกลับมาฟื้นตัวได้ด้วยความยืดหยุ่นเอาชนะความท้าทายต่างๆในช่วงสถานการณ์โรคระบาด 

   นอกจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวสถานการณ์โควิด ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับโอกาสใหม่ๆ และสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เข้ากับกระแสนิวนอร์มอล ประเทศไทยกลับมาเป็นน่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลก

   เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาหารซึ่งจะเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต อุตสาหกรรมอนาคตกำลังก้าวสู่เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

   เช่น อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก และ อาหารทางการแพทย์  สำหรับการท่องเที่ยว ก้าวใหม่สู่ ธุรกิจเพื่อสุขภาพ และการพำนักอาศัยระยะยาว กำลังเติบโตซึ่งสอดคล้องกับจุดแข็งภาคการท่องเที่ยวไทย

   นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาเกิดธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจดิจิทัล และ New S-Curve เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนศักยภาพของธุรกิจไทย และบ่งชี้ว่านักลงทุนให้ความสนใจธุรกิจขนาดเล็กในเศรษฐกิจยุคใหม่มากขึ้น

   ทั้งนี้ในช่วงวิกฤติและความท้าทาย ภาคธุรกิจตระหนักว่าต้องมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยินพร้อมกับความยืดหยุ่น และคล่องแคล่วด้านการสื่อสารและพัฒนาอยู่เสมอ

   เพื่อเตรียมพร้อมรับโอกาสและ ความท้าทายใหม่ๆในอนาคต ทั้งหมดนี้จะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น และเห็นโอกาสการลงทุนในประเทศไทย  

   "หากมองย้อนกลับ  20-30 ปีไปจะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศภาค Real Sector และภาคธุรกิจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดไม่ว่าสภาพการเมืองจะเป็นแบบใดก็ตาม

   บริษัทจดทะเบียนไทยในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้โตเฉพาะในประเทศแต่โตในต่างประเทศด้วย และยังโตไปถึง Reginal Company และ Global Company

   และในงานครั้งนี้นักลงทุนไม่ได้มีคำถามเรืองการเมือง แต่จะถามเรื่องทิศทางการเติบโต และการปรับตัวและแนวโน้มการทำธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนเป็นหลัก" ดร.ภากร กล่าวย้ำ 

  

   นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษ: "Thailand's Economic Reopening and Enhancing Competitive Advantage" (พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังเปิดประเทศ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน) ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยค่อยๆ ปรับตัวและกำลังฟื้นตัวหลังจากวิกฤติโรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิดในปีที่แล้ว

   รัฐบาลได้เริ่มเปิดประเทศอีกครั้ง ผ่านโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และรัฐยังยกเลิกมาตรการจำกัดการท่องเที่ยวทั้งหมดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

   เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบหนักมากในช่วงสองปีที่ผ่านมาจากวิกฤติโรคโควิด และความไม่สงบทางด้านการเมือง ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของไทยในภาพรวม รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่มองว่าเศรษฐกิจของไทยจะฟื้นตัวได้ในปีนี้ โดยตั้งเป้าจีดีพีไว้ที่ 3.5%

   จากมาตรการของรัฐบาลที่ช่วยเหลือทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการออกพรบ.กู้เงินฉุกเฉิน ที่นำเงินมาช่วยทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดหาวัคซีนโรคโควิดให้ประชาชน

   กลุ่มคนรายได้น้อยคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมากที่สุด ดังนั้น รัฐจึงออกมาตรการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้านราคาแก๊สหุงต้ม ก๊าซเอ็นจีวี และน้ำมันดีเซล รวมถึงการลดราคาค่าไฟฟ้า

   ในส่วนของภาคธุรกิจ ก็มีมาตรการช่วยในการจัดโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ การออกเงินกู้พิเศษเป็นต้น ทั้งนี้มั่นใจว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับมาอย่างแน่นอน

   ถึงแม้ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาจากโควิดมาเป็นเวลาสองปี แต่เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งและมีแนวโน้มในทางที่ดียิ่งขึ้น และการเก็บภาษีในปีนี้จะได้ตามเป้าที่ตั้งไว้

   ในอนาคตประเทศไทยหลังจากวิกฤติโควิด จะพุ่งเป้าไปที่การปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น เน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2065 เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

   รัฐบาลได้เน้นไปยังการสนับสนุนการลงทุนในการก่อสร้างขนาดใหญ่ ภาคแรงงาน และนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งเสริมภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงช่วยเหลือ SME กลุ่ม start up และรากหญ้า

24 สิงหาคม 2565

ผู้ชม 386 ครั้ง

Engine by shopup.com