สถิติ

66669673

SPCGจับมือPEA ENCOMทุ่ม!23,000ลบ.  

   SPCGจับมือPEA ENCOMทุ่ม!23,000ลบ.

   ลงทุนโซลาร์ ฟาร์มEEC-ประเดิม!500MW

  

   นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด"PEA ENCOM" เปิดเเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 เพื่อที่จะผลักดันให้ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง ทันสมัย

   เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับโลก โดยจัดให้มีบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร จัดสร้างโครงสร้าง พื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพสูง มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

   และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เป็นพื้นที่สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพลังงานสะอาด เพื่อให้เกิดเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) 

   คณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ) ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับผิดชอบ ในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ และทันการเจริญเติบโตของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

   และให้จัดหาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เพื่อใช้ในพื้นที่ EEC โดย PEA ได้มอบหมายให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

   ดังนั้นบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) (SPCG) ได้ร่วมมือกับ PEA ENCOM ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เป็นพื้นที่ที่ใช้พลังงานสะอาด และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างสุขให้ทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ EEC และประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ

   ด้วยการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศ สอดคล้องตามแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่กำหนดไว้ว่า “การพัฒนาพื้นที่ EEC ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ เพื่อการนำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

   การพัฒนาที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนให้พื้นที่ EEC เป็นสังคมคาร์บอนต่า (Low Carbon Society)” จนนำไปสู่ผลสำเร็จของโครงการจัดหาพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) และพลังงานสำรอง (ระบบกักเก็บพลังงาน) เพื่อใช้ในเขต EEC

   ซึ่งในการใช้พลังงานในเขต 3 จังหวัดนี้ ได้กำหนดสัดส่วนให้การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ร้อยละ 70:30 คือ การใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต จะเพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ

  

   ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เอสพีซีจี(SPCG) เปิดเผยว่า ความร่วมมือตามโครงการดังกล่าวร่วมกับ PEA ENCOM นั้น ได้ดำเนินการโดยการจัดตั้งบริษํทร่วมทุนในเครือ SPCG คือ บริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด(SET ENERGY) 

   ผลิตพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar Farm เป็นหลัก เฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดEEC ในภาคตะวันออก ในพื้นที่ 50-100 ไร่ ต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า 3-10 เมกะวัตต์ โดยมีเป้าหมายระยะแรกไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564-2569 มูลค่าการลงทุนกว่า 23,000 ล้านบาท

   ซึ่งจะมีการขอมติผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 มกราคม 2564 โดยใช้วิธีการระดมทุนผ่านตลาดทุน อาทิ การออกหุ้นกู้ เป็นต้ โดย SPCG มีแผนจะขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อรับสิทธิยกเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล

   โดยโครงการนี้จะช่วยให้เกิดการจ้างงานกว่า 50,000 คนในช่วงของการพัฒนาโครงการ อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่ผู้มีงานทำ ชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

   อีกทั้งช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การดูแลสังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ชุมชน และสาธารณูปโภคของสังคม รวมถึงยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ไม่น้อยกว่า 11 ล้านตันคาร์บอน ภายในระยะเวลา 30 ปี หรือประมาณ  400,000 ตันคาร์บอนต่อปี

   “SPCG มีความภาคภูมิใจในการร่วมมือกับ PEA ENCOM ในการที่จะ ลงทุนโครงการพลังงานไฟฟ้า (แสงอาทิตย์) ใน EEC ให้เป็นพื้นที่สะอาดต้นแบบ หรือโมเดลใหม่ของประเทศไทยป็นพื้นที่ชั้นนำของโลกในการใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์

   ภายใต้แนวคิด Low Carbon Society และพื้นที่สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ซึ่งจะตอบโจทย์และมีความเหมาะสมที่สุดในพื้นที่ EEC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”ดร.วันดี กล่าวย้ำ

   นางนรินพร มาลาศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด(SET ENERGY)  คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จรวมอย่างน้อย 300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 และอีกไม่น้อยกว่า 200 เมกะวัตต์ ภายในปี 2569 โดยจะทยอยรับรู้รายได้ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป 

   โดยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จะเป็นการขายในราคาตลาดให้กับพื้นที่ EEC 3 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ 4,000 เมกะวัตต์ และจะเพิ่มเป็น 10,000 เมกะวัตต์ในปี 2580

   

 

16 ธันวาคม 2563

ผู้ชม 1036 ครั้ง

Engine by shopup.com